4 วิธีสร้าง Work-Life Balance แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต

วันที่: 31 ก.ค. 2567 12:11:33     แก้ไข: 14 ส.ค. 2567 11:37:07     เปิดอ่าน: 476     Blogs
ในระยะหลังนี้ เราจะพบว่า ประเด็นเกี่ยวกับ การรักษาสมดุลชีวิตการทำงาน (Work-Life Balance) ถูกพูดถึงอย่างบ่อยครั้ง โดยเฉพาะยามนี้ ที่ภาวะเศรษฐกิจของบ้านเราที่มีทรงคล้ายจะวิกฤตขึ้นทุกที จนบริษัท ห้างร้าน โรงงานหลายแห่ง ทะยอยปิดตัวลงไปมากแล้ว และแนวโน้มจะเพิ่มอีกมากด้วย เพราะจากข่าวล่าสุด ในภาคเอกชนนั้น ผู้ประกอบการไทยเองก็เริ่มแสดงความกังวลผลกระทบจากการขยายตัวของธุรกิจต่างชาติที่แห่แหนมาปักธงทำธุรกิจในบ้านเรา ทั้งในแบบ Online และ Offline กันแล้ว 

แม้ว่าหลายบริษัทตกอยู่ในความเสี่ยงช่วงวิกฤตนี้ แต่หากผู้บริหารออกมากระตุ้นการทำงานทีไร จะเห็นว่าเกิดดราม่าตลอด ระหว่างกองเชียร์สองฝั่ง นั่นคือ Work-Life Balance ที่คอขาดบาดตายอย่างไร ก็ไม่อยากให้บริษัท (โดยเฉพาะหัวหน้า) มาล่วงล้ำเวลาส่วนตัว และ ฝั่ง Work ไร้ Balance ที่บอกว่าวิกฤตแบบนี้ถ้ายังเป็นสายชิลต่อไป คงไม่แคล้ว ได้ไปนั่งสบายที่บ้านยาวๆ แน่

โดยที่ทั้งสองฝ่ายต่างก็หาเหตุผลมาสนับสนุนแนวทางการทำงานที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้วนี้จนเป็นดราม่าในหน้าสื่อโซเชี่ยลกันตลอด

แต่จะไม่มีดราม่า ถ้าเข้าใจ Work-Life Balance ใน 3 ประเด็นนี้  คือ 
 

1. เข้าใจความหมายของ Work-Life Balance ให้ตรงกัน

ผมเจอบ่อยมากๆ กับการที่คนมองว่า Work Life Balance คือ การทำงานชิลๆ เข้างาน-เลิกงานตามเวลา ห้าโมงกลับบ้าน จนบางคนไปตีความว่า สมดุล คือ ต้องแบ่งเวลาเท่าๆ กันก็มี 

แนวทางที่เหมาะสม  ความหมายของสมดุลของชีวิตและงานนั้น อาจไม่ใช่จำนวนเวลาที่ต้องเท่ากัน แต่มันเป็นการรักษาสมดุลระหว่างพลังงานที่เราใช้ในการทำงาน และการฟื้นฟูมันให้กลับมาทำงานได้มากกว่า เช่น เมื่อใดที่ต้องทำงานหนัก เราก็ต้องหากิจกรรมเพื่อให้เรายังรักษาสุขภาพทั้งกาย-ใจ และกลับไปทำงานได้อย่างเต็มที่อีกครั้ง

เพราะหากเสียสมดุล ย่อมนำไปสู่การ Burnout ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้บรรจุ ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ burnout ลงในบัญชีโรค และอาการผิดปกติต่างๆ ในคู่มือวินิจฉัยและจัดประเภทของโรคระหว่างประเทศ (ICD) ฉบับปรับปรุง เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องธรรมชาติของร่างกายมนุษย์นะครับ เราอาจจะบอกตัวเองได้ว่า ยังไหว แต่ร่างกายคน มันซื่อตรงเสมอและหลายคนทำงานหนักจนน็อคคาโต๊ะก็มีไม่น้อย 

 

2. เข้าใจว่าขีดจำกัดของ Work Life Balance ของแต่ละคนไม่เท่ากัน

นึกง่ายๆ ว่าความสามารถในการจัดการ และ ความอดทนของคนเราไม่เท่ากัน นั่นแหละครับ

บางคนที่ทำงานได้หนัก เขาก็อาจรักษาสมดุลระหว่างงานและชีวิตตัวเองได้ เขาอาจมีทักษะในการแก้ปัญหาในงานมากพอ จนไม่รู้สึกว่าเป็นการบั่นทอนพลังงานของตัวเอง  หรือ อาจมีความอดทนสูง เพราะเคยมีประสบการณส่วนตัวมาแล้วว่า ถ้าไม่ทำผลกระทบในระยะยาว อาจร้ายแรงและกระทบต่อชีวิตได้ในท้ายที่สุด 

จึงเกิดประเด็นอีกว่า ทำไมฉันทำได้ แล้วเธอทำไม่ได้ล่ะ 

แนวทางที่เหมาะสม คนมีความแตกต่างหลากหลายครับ ทั้งเพศ อายุ ประสบการณ์ ทักษะ แรงจูงใจ ฯลฯ หากเรารู้ตัวว่า มีขีดจำกัดของ Work-Life Balance น้อย  ในยามวิกฤตนี้ ก็อาจต้องเพิ่มความสามารถในการจัดการงาน มีกลยุทธ์ในการทำงาน และจัดลำดับความสำคัญของงานได้เหมาะสม หรือ ลองมองดูว่า กิจกรรมใดที่ฟื้นฟูพลังงานเราได้มากและเร็วที่สุด เช่น การออกกำลังกาย งานศิลปะ หรือ งานอดิเรกที่ชอบ ฯลฯ  

 

3. เข้าใจว่าคนมักมองจากมุมที่แตกต่างกัน (Personal Perspective) ซี่งมักเกิดได้ 2 กรณี คือ

 
1) บทบาทที่แตกต่างกัน (Role)
เอาตรงๆ หลักๆ เลย ก็คือ นายจ้าง  (หรือ หัวหน้าที่เป็นตัวแทนของนายจ้าง) และ ลูกจ้างมองกันคนและแบบ นั่นแหละครับ 

นายจ้างมีเป้าหมายทางธุรกิจ (Business Goal) คือ ต้องการผลประกอบการ ต้องการให้ธุรกิจเขารอด ไม่ว่าจะบอกว่าเป็นห่วงน้องๆ จะตกงาน หรือ ต้องการรักษาลูกน้อง แต่ปลายทางก็คือ ต้องรักษาบริษัทให้อยู่ได้ และรอดพ้นวิกฤตนั่นแหละ ส่วนลูกน้องบางคนก็มีเป้าหมายในชีวิตส่วนตัวด้วย (Personal Goal) คือ เมื่อทำงานหาเลี้ยงชีพ และทำงานตามที่ตกลงแล้ว ก็ต้องมีสิทธ์ในการใช้ชีวิตส่วนตัวของเขาบ้าง (ไม่งั้นจะหาเงินมาทำไมละครับ)

2) ค่านิยมส่วนตัวที่แตกต่างกัน  (Personal Values)

จากความเห็นส่วนตัว ผมว่าทำให้เกิดดราม่าเยอะที่สุด นั่นคือ ค่านิยมส่วนตัวที่แตกต่างกัน เพราะ ค่านิยมส่วนตัว คือ การที่คนแต่ละคนให้คุณค่าต่องสิ่งต่างๆ ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดีและควรทำ 

บางคนมีค่านิยมเป้าหมาย (Terminal Values) เช่น ความสำเร็จ การงานก้าวหน้า ก็ชอบที่จะทำงานเยอะๆ แต่บางคนอายึดถือว่า ครอบครัว สุขภาพ ฯลฯ เป็นหลัก ก็ย่อมรู้สึกว่า ต้องเมีเวลาเพื่อตอบสนองค่านิยมนั้น

ค่านิยมอีกระดับ คือ ค่านิยมวิธีการ (Instrumental Vaules) คือ ความเชื่อว่า หากทำตามนั้นแล้วบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ เช่น เชื่อว่ากาารทำงานให้สำเร็จ ต้อง ทำงานเยอะๆ (Work hard & Productive) แต่บางคนเชื่อว่า การทำงานสำเร็จ ต้องทำน้อยแต่ได้มาก (Work Smart & Strategic)

พอทุกคนเชื่อว่าค่านิยมตัวเองถูกต้อง และใช้มันดำเนินชีวิต โดยเฉพาะยิ่งคนที่ประสบความสำเร็จแล้ว ไม่มีทางเชื่ออีกฝ่ายหรอกครับ มีแต่จะเถียงกันคอแตกละครับ ว่าอะไรถูกอะไรผิด เหมือนคนชอบทุเรียนกับคนไม่ชอบทุเรียน เถียงกันว่าทุเรียนอร่อยไหมนั่นแแหละครับ

แนวทางที่เหมาะสม ทั้งสองฝ่ายต้องเริ่มจากความเข้าอกเข้าใจกัน (Empathy) เคารพ (Respect) มุมมองจากบทบาท ความคิด ความเชื่อของแต่ละฝ่าย แล้วเน้นที่เป้าหมายที่แต่ละฝ่ายต้องการร่วมกัน ผ่านการตั้งคำถามเพื่อหาทางออก แทนการระบุวิธีการ เช่น ในภาวะวิกฤตแบบนี้ แต่ละฝ่ายมีวิธีการอย่างไร ที่จะทำให้บริษัทอยู่รอดได้  แล้วลองปรับจูนเป้าหมายและวิธีการขของทั้งสองฝ่าย

แล้วเราจะได้แนวทางที่ Win-Win ทั้งคู่ ทางออกอาจเป็นใช้เวลาในการทำงาน ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด (Work Smart) แทนการทำงานให้มากให้หนัก (Work hard) แต่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือ จะเป็นการมีกลยุทธ์ในการทำงาน และการเพิ่มทักษะความสามารถในการทำงาน เป็นต้นครับ
 
 

บทสรุป


ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจนี้ ผมยังเชื่อเสมอว่า Work-Life Balance เป็นสิ่งที่เหมาะสม เพราะคนที่มีกำลังใจดี มีความสดชื่น และสุขภาพดี ย่อมมีหัวสมองที่แล่นฉิว มีความคิดฉับไว ซึ่งจะทำให้ทำงานและแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่คนทำงานอย่างพวกเราต้องทำใจไว้อย่างหนึ่งว่า  Work-Life Balance แบบเดิมๆ ของเรา อาจถูกกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในตัวงานได้เช่นกันครับ 

แน่นอนว่า วิกฤตอาจทำให้งานของเรา มันหนักขึ้น เหนื่อยขึ้น จนตารางชีวิตแต่ละคนเปลี่ยนไป แต่เราก็ยังสามารถปรับตัวและพัฒนา ขีดจำกัดของ Work-Life Balance  เพื่อให้เรายังคงมีคุณภาพชีวิตที่ดี และการทำงานที่บรรลุเป้าหมายได้ ซึ่งผมขอฝากแนวทางเพื่อให้ทุกท่าน Survive ได้ โดย Work-Life Balance ยังคงอยู่ ดังนี้ครับ

 


How To Survive

  1. ปรับความคิด ว่าถ้าวิกฤตเกิด "เราทำงานแบบเดิมไม่ได้แน่นอนครับ!" แต่ เราก็มีทางเลือก (อยู่บ้าง) ว่าจะจัดการมันอย่างไรแบบไหน
  2. เตรียมทักษะ เพื่อรับมือการทำงานที่เปลี่ยนไปในช่วงวิกฤต (ไม่ว่าจะยังอยู่กับบริษัท หรือไปหาทางรอดเอง ก็ตาม) เช่น ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นอย่าง การวางแผนทำงาน การจัดลำดับความสำคัญของงาน การคิดแบบมีกลยุทธ์ (เพื่อเลือกทำสิ่งสำคัญและเกิดผลลัพธ์จริงๆ (High Impact) และไม่ทำสิ่งที่ไม่จำเป็น เพราะเสียทรัพยากรและพลังงาน) รวมถึงหาความรู้ในเทคโนโลยีที่ช่วยผ่อนแรงได้ (เช่น AI)
  3. มองหาความร่วมมือจากคนอื่นๆ บ้าง ไม่ว่าจะเป็นการหาคู่คิด มิตรทางการค้า หรือ กัลยานมิตรที่ช่วยเสริมพลังใจให้กันได้ในยามยาก
  4. หากิจกรรมฟื้นฟูพลังใจและกายตนเอง อันนี้เหมือนไม่สำคัญแต่สำคัญอย่างยิ่งยวดในการทำให้เรามีความสามารถในการทนทานต่อวิกฤต และรักษาสมดุลชีวิตและงานได้ ผมขอเรียกว่าเป็นการ รู้วิธีจัดการความเครียด (Stress Management) เพราะในทางสมองนั้น เคมีบางตัวในสมองสร้างความสุขให้เราได้ และคนที่ออกกำลังกาย หรือ ทำกิจกรรมบ่อยๆ จะมีเคมีสมองชนิดนี้มากกว่าคนอื่น ทำให้เขารับมือกับความเครียดได้ดีกว่า

วิกฤตเศรษฐกิจหนนี้ ขอเอาใจช่วยทุกท่านให้ทุกท่านสามารถรักษาสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้นะครับ

บทความและภาพกราฟฟิค

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industrial and Organizational Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change, Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง  เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง

เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง