ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทำให้ธุรกิจต่างๆ ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน แต่นอกจากธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงแล้วยังมีอีกหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย คือ สัดส่วนของพนักงานรุ่นใหม่ๆ ที่เริ่มมีสัดส่วนที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับพนักงานเดิม โดยพนักงานรุ่นใหม่นี้ จะเข้ามาทำงานพร้อมกับความกระตือรือล้น และความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงความรู้ทางด้านเทคโนโลยีที่มีมาก ซึ่งถ้าพิจารณาดูแล้ว พนักงานรุ่นใหม่ๆนี้น่าจะสร้างผลดีกับองค์กรได้อย่างมาก แต่ในการทำงานจริงๆ กลับพบว่า พนักงานเหล่านี้ ทำให้เกิดบรรยากาศการทำงานที่อาจขาดความร่วมมือกันกับพนักงานเดิม รวมถึงอาจเกิดความขัดแย้งกับหัวหน้าดดยตรงได้ ซึ่งถ้าปล่อยให้เหตุการณ์นี้ดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ก็อาจเกิดความสูญเสียพนักงานรุ่นใหม่ๆที่มีศักยภาพ และเป็นส่วนสำคัญต่ออนาคตองค์กร ไปได้ ดังนั้นในฐานะของผู้บริหารจึงควรจะต้องมีความสามารถในการบริหารพนักงานรุ่นใหม่เหล่านี้ เพื่อให้เขาใช้ศักยภาพที่มีมาช่วยในการผลักดันธุรกิจให้ก้าวหน้าไปได้

โดยผมมีหลักการบริหารพนักงานรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ อยู่ 7 หลักดังนี้
 
1. เข้าใจคุณลักษณะเฉพาะของพวกเขา
ใพนักงานรุ่นใหม่ที่มีศัยภาพเหล่านี้ จะเติบโตมาท่ามกลาง การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลก ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดของเขา เขาจึงเติบโตมาด้วยการยึดมั่นในจุดมุ่งหมาย (Purpose) เป็นสำคัญ ดังนั้นแต่ละคนก็จะมีวิธีการเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในแนวทางของตนเองซึ่งผู้บริหารไม่สามารถคาดการได้ว่า เขาจะใช้วิธีการเช่นใดเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย ดังนั้นสิ่งแรกที่จำเป็นสำหรับการบริหารคือ เข้าใจคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละคน ไม่ใช่ลักษณะโดยรวมตามที่มักสรุปว่าคน Gen โน่น Gen นี้เป็นอย่างไร

2. สร้างวัฒนธรรมการรวมกันและร่วมมือ
คนรุ่นใหม่เติบโตมาในยุคที่มีความหลากหลาย แต่ก็ต้องการการมีส่วนร่วมในวงกว้าง ดังนั้นผู้บริหารจึงควรสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่สนับสนุนการทำงานร่วมกันและส่งเสริมการให้เกิดการร่วมมือ มีการส่งเสริมการสื่อสารที่เปิดเผยเพื่อให้โอกาสให้พวกเขาแบ่งปันความคิดและมุมมองของเขา เมื่อเขารู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าและทุกคนยอมรับความคิดของเขา เขาจะมีความสนใจและรับผิดชอบต่อเป้าหมายขององค์กรมากยิ่งขึ้น

3. ให้โอกาสการได้รับคำปรึกษาและพัฒนา
คนรุ่นใหม่มีความเชื่อด้านการเอาตัวรอด แต่ถ้าเป็นพนักงานรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ การเอาตัวรอดด้วยการมีกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และเติบโตจะมีอยู่สูงมาก ดังนั้นคุณจึงควรบริหารในลักษณะการแบ่งปันความรู้ การให้คำปรึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะเพื่อได้โอกาสในการเติบโต นอกจากนี้แล้วการได้รับคำปรึกษานอกจากเขาจะได้รับทักษะใหม่ ๆ แล้วยังสร้างความภักดีต่อองค์กรได้ด้วย

4. ยอมรับเทคโนโลยี
คนรุ่นใหม่มีความรู้ทางดิจิทัลที่ดีอยู่แล้วและพร้อมรับการใช้งานทาง ด้านดิจิตัลใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ในขณะเดียวกันก็ต้องการใช้ความรู้ด้านนี้ที่ตนเองมีให้เกิดประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้บริหารจึงควรนำเทคโนโลยีเข้าสู่กระบวนการการทำงานให้มากขึ้น และมีการใช้ในการสื่อสารในการทำงาน เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพของงานให้ดียิ่งขึ้น จะทำให้พนักงานมีสุขเมื่อได้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ใช้เทคโนโลยีได้เหมาะสม

5. ส่งเสริมความเป็นเจ้าของ
ให้พนักงานรุ่นใหม่ต้องการความมีตัวตนและได้รับการยอมรับ ดังนั้นจึงควรบริหารให้เขามีความรู้สึกเป็นเจ้าของโดยให้สิทธิในการตัดสินใจและรับผิดชอบในโครงการของเขาเอง ให้วางใจให้พวกเขาตัดสินใจและรับผิดชอบสิ่งที่พวกเขาทำ ความรับผิดชอบนี้สร้างความภาคภูมิใจการได้แสดงตัวตนและมีคนสนใจในงานของเขา พร้อมทั้งให้โอกาสได้เขาได้เสนอคำแนะนำเมื่อจำเป็น แต่อย่างไรก็ตามการมอบหมายงานที่รับผิดชอบให้เลยควรต้องมีการตรวจวัดกันที่ความสำเร็จเป็นหลัก แต่ต้องมีการกำหนด Mile Stone ต้องสำเร็จเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันความผิดพลาดร้ายแรงแต่ควรหลีกเลี่ยงการควบคุมเชิงละเมิดสิทธิในการทำงาน

6. รับรู้และรางวัลความสำเร็จ
การรับรู้และรางวัลของความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญในการเสริมสร้างแรงจูงใจในทีมงานที่มีความสามารถสูง การบริหารจึงควรมีการให้รางวัลทั้งแบบที่จับต้องได้หรือจับต้องไม่ได้ควบคู่กัน โดยมีการให้ Feedback อย่างต่อเนื่องเมื่อทำงานได้สำเร็จ รวมถึงการให้รางวัลแบบจับต้องได้ที่ชัดเจน เช่น การโปรโมตหรือโบนัส ซึ่งการให้รางวัลต่างๆ เหล่านี้ควรอยู่บนข้อมูลและหลักฐานที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและอ้างอิงได้

7. สร้างสมดุลการทำงานและชีวิตส่วนตัว
การสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้มีความสามารถรุ่นใหม่ การบริหารโดยส่งเสริมความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว การบริหารจึงควรกำหนดขอบเขตการทำงานให้ชัดเจนและส่งเสริมการทำงานที่มีความยืดหยุ่น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคุณใส่ใจถึงสุขภาพและความเป็นอยู่ของพวกเขา ซึ่งในที่สุดจะเพิ่มความทุ่มเทและประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น
 
จาก 7 หลักการบริหารพนักงานรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ ในความจริงแล้วก็สามารถใช้ได้กับพนักงานทุกคน ไม่ว่าเก่าหรือใหม่ เพราะวัฒนธรรมในโลกการทำงานเปลี่ยนไป พนักงานเก่าหลายคนก็เปลี่ยนความเชื่อไปแล้วเช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่าพนักงานรุ่นใหม่ๆนั้นจะมีความเชื่อบางอย่างที่แข็งแรงมากและแตกต่างไปจากพนักงานรุ่นเก่าที่ผู้บริหารคุ้นเคย

หากท่านใดต้องการตัวช่วยในการวางแผนพัฒนาผู้นำให้ดูแลและสนับสนุนคนรุ่นใหม่ให้องค์กรได้ดียิ่กว่าเดิม (Leading High Potential Team Members for Performance Workshop) สามารถขอคำปรึกษาเบื้องต้น โดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้  ที่นี่
  
        เพิ่มเพื่อน    
หากท่านใดสนใจรายละเอียดของการพัฒนาผู้นำ Leading High Potential Team Members for Performance นี้ สามารถขอคำปรึกษาเบื้องต้นได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่นี่
  
        เพิ่มเพื่อน    

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

4 วิธีสร้าง Work-Life Balance  แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
4 วิธีสร้าง Work-Life Balance แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต

สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน

7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง  เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง

เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ