การพัฒนาทีมให้เก่งขึ้น ดูเหมือนเป็นเรื่องปกติที่ หัวหน้าหรือ ผู้นำทุกคนต้องทำ แต่ถ้ามามองในมุมของการบริหารแบบ Diamond Management เรื่องนี้ ก็เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญต่อความสำเร็จของการบริหารเพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์กร เพราะการที่มีทีมงานที่เก่งขึ้น จะช่วยส่งเสริมเป้าหมายด้านการเติบโต(Growth)ขององค์กร แต่อีกสิ่งหนึ่งที่มักถูกมองข้ามไป คือ จิตใจของคน ซึ่งถ้าเขาสามารถทำงานที่รับผิดชอบได้สำเร็จหรือ ยิ่งทำงานยิ่งเก่ง ก็จะช่วยให้คนทำงานรู้สึกดีต่อองค์กรนั้นๆ จน ทำให้เกิด Engagement ต่อองค์กร ซึ่งวิธีที่จะพัฒนาคนให้เก่งขึ้นนั้น หลายคนคิดว่าเป็นความรับผิดชอบของ ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ แต่จริงๆ แล้วมันเป็นหน้าที่หลักของหัวหน้างานโดยตรง 
หลักการและขั้นตอนแบบ Developing Team มีรายละเอียดคือ
  • การแปลงกลยุทธ์เป็นสิ่งที่ทีมงานแต่ละคนต้องปฏิบัติให้สำเร็จ 
  • ระบุบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบและความคาดหวังของแต่ละคนให้ชัดเจน
  • มอบหมายอำนาจ และการตัดสินใจให้ทีมงานแต่ละคนให้เหมาะสมกับบทบาท
  • รับฟังทีมงานว่าตนเองติดขัดหรือมีอุปสรรคในการทำงานตามหน้าที่ในประเด็นไหนบ้าง
  • ให้การ Coaching แต่ละคนว่า มีความพร้อม มีจุดเด่นและจุดที่ต้องพัฒนาตรงไหนบ้าง 
  • พัฒนาคนในจุดที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งมีการกำหนดจุดตรวจวัด(Measurement) ในการพัฒนาอย่างชัดเจน  
  • มีการ Follow up การพัฒนาอย่างสม่ำเสมอจน สำเร็จตาม จุดตรวจวัดที่กำหนด (Measurement) 
คุณสมบัติของหัวหน้าที่เป็น Team Developer มีดังนี้
  • มีจิตใจหรือMindset ในการช่วยเหลือคนอื่นให้ประสบความสำเร็จ และ มีความพยายามเข้าใจผู้อื่น (Empathy)
  • มีความไว้วางใจในทีมงาน และมีความต้องการให้ทีมงานงานให้สำเร็จได้ด้วยตนเอง
  • มีทักษะด้านการสื่อสารที่ชัดเจน 
  • มีความสามารถในการระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของทีมงานได้ตรงตามกลยุทธ์ที่กำหนด
  • สามารถ Coaching ทีมงานให้พัฒนาตนเองได้
  • สามารถ Follow up และ Feedback ทีมงานได้อย่างตรงประเด็นและเด็ดขาด

การพัฒนาหัวหน้าให้เป็น Team Developer 

พัฒนา Leadership Mindsets ให้เป็นหัวหน้าที่มี Mindsets ที่ประกอบด้วย 6 Mindsets ดังนี้ Integrity, Accountability, Learning, Respect, Empathy, Contribution เพื่อช่วยให้หัวหน้าได้รับความไว้วางใจจากทีมงาน และทีมงานพร้อมที่จะรับการพัฒนาจากหัวหน้า

พัฒนา Coaching Mindsets เพื่อช่วยให้หัวหน้ามีจิตใจที่เหมาะสมกับการเป็นโค้ช

พัฒนา Coaching Skills เพื่อ ช่วยในการพัฒนาทีมงานให้เหมาะสมกับบทบาทที่ได้รับ

พัฒนาการFollow up และ การให้ Feedback เพื่อช่วยให้ มีการติดตามและแก้ไขการพัฒนาของทีมงานอย่างเหมาะสมจนประสบความสำเร็จที่ต้องการ 
หัวใจสำคัญในการพัฒนาหัวหน้าให้สามารถบริหารแบบ Developing Team ให้ประสบความสำเร็จคือ Clear, Trust, Focus 
  • Clear ชัดเจนในหน้าที่ของทีมงานแต่ละคนว่าต้องทำอะไรบ้าง และ ชัดเจนในการพัฒนาว่าต้องพัฒนาอะไรบ้าง
  • Trust คือ ทั้งหัวหน้าและทีมงานต้องมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้การพัฒนาเกิดความราบรื่น
  • Focus หมายถึง การสนใจที่เป้าหมายในการพัฒนา และเป้าหมายความสำเร็จของงาน ไปควบคู่กัน

จากหลักการทั้งสามนี้ จะส่วนทำให้ ส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การบริหารแบบ Diamond Management ประสบความเร็จซึ่งจะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายด้านการ Growth และ Engagement ไปควบคู่กัน

บทความโดย

Kom Suwanpimon (คม สุวรรณพิมล)
CEO & Founder / Coach For Goal Group 
 
  • Top Management Executive in Finacial Companies
  • Executive Coach & Business Development Consultant
  • Newspaper Columnnist & Author
     
Interesting Areas:
Business Results Inprovement, Leadership Development, Executive & performance Coaching, People Attitude & Behavior
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

4 วิธีสร้าง Work-Life Balance  แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
4 วิธีสร้าง Work-Life Balance แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต

สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน

7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง  เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง

เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ