Future Skills For Uncertain World

วันที่: 11 ก.ย. 2564 09:39:02     แก้ไข: 14 มี.ค. 2565 10:09:33     เปิดอ่าน: 2,991     Blogs
โลกยุคใหม่ต้องการคนทำงานแบบไหน?

งานวิจัยจาก McKinsey ได้ศึกษาเรื่องทักษะที่จำเป็นในโลกอนาคต จากคนจำนวน 18K ใน 15 ประเทศ แล้วสรุปลักษณะประชากรแห่งโลกใหม่ (Future-Citizen Skills) ไว้ว่า จะต้องมีทักษะที่จำเป็นทั้งหมด 13 ด้าน ซึ่งเมื่อแบ่งเป็นหมวดหมู่แล้วจะได้ทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ

1. Self Leadership ภาวะผู้นำในตนเอง (3 ด้าน)
2. Cognitive กระบวนการคิด (4 ด้าน)
3. Interpersonal ความสัมพันธ์กับผู้อื่น (3 ด้าน)
4. Digital ดิจิทัล (3 ด้าน)
 
1. Self-Leadership (ภาวะผู้นำในตนเอง)
ทุกคนต้องมีครับ ไม่ใช่แค่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งหัวหน้างานอย่างเดียว
เพราะทักษะนี้จะช่วยให้ คนทุกคนสามารถนำพาตัวเองไปยังเป้าหมายและความสำเร็จที่วางไว้ได้

ภาวะผู้นำในตนเองมี 3 ด้านย่อยๆ คือ
1.1 Self-Awareness & Self Management
คือ การตระหนักรู้ตัว และบริหารจัดการตัวเองได้
1.2 Entrepreneurship
คือ สำนึกความเป็นเจ้าของในงาน
1.3 Goal Achievement
การมุ่งมั่นทำให้สำเร็จ

อ้าว! ฟังดูก็เหมือนยุคเดิม แสดงว่า เราก็ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรสิ
ช้าก่อนครับ แม้ว่าชื่อเหมือนเดิมแต่ไส้ในที่เป็นหัวข้อย่อยๆ มันเปลี่ยนจากเดิมครับ เหมือนเป็น Updated Version เพื่อเราจะได้บรรลุเป้าหมายได้ ในโลกใบใหม่ที่อะไรก็ไม่แน่นอนและเปลี่ยนแปลงเร็วจี๋นั่นเองครับ

สรุปหลักๆ Self Leadeship ในเวอร์ชั่นนี้ ก็คือ การต้องรู้จักตัวเองโดยเฉพาะจุดแข็ง และ ต้องกล้าทำสิ่งที่ต่างจากเดิม รวมทั้งต้องอึดถึกทน และรู้จักปรับตัวในโลกที่ไม่แน่นอนให้ได้ครับ
ทักษะหมวด 2 Cognitive Skills (วิธีคิด)
โลกยุคใหม่ เป็นโลกที่มีลักษณะเปราะบาง ไม่แน่นอน ซับซ้อน คลุมเครือ ทำให้เรามีแนวโน้มที่ต้องใช้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น

จริงๆ แล้ว ทุกวันนี้ คนทุกคนก็สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายกว่าเดิมเยอะมาก แต่....
คนที่จะมีระบบการคิด เพื่อประมวลผลข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในรูปแบบที่ใช้งานได้ มีกี่คน?
วิธีคิด จึงเป็นทักษะที่แยก "คนที่ใช้งานข้อมูลเป็น" กับ คนที่แค่ "ค้นข้อมูลได้" ได้ออกจากกัน
คนที่ใช้งานข้อมูลได้ จะมีทักษะใน 4 ด้าน คือ

2.1 Critical Thinking สรุปง่ายๆ คือ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ได้
2.2 Mental Flexibility คือ รู้ว่าจะใช้ข้อมูลที่มีในสถานการณ์ที่ต่างกันอย่างไร ไม่ใช่ ใช้มันแบบเดิมในทุกๆ บริบทครับ
สาระสำคัญของข้อนี้ คือ เพื่อให้ปรับตัวได้ดี มองในมุมต่างๆ ที่หลากหลายกว่าความเชื่อเดิมของเรา (เสมือนต้องมีแว่นตาหลายแบบ เพื่อมองในมุมต่างๆ)
2.3 Planning & Way of Working ต้องพัฒนางานที่ทำได้ และรู้ว่าต้องทำอะไรก่อนหลัง ซึ่งแง่มุมนี้ ก็คือ "รู้จักคิดเพื่อทำงานให้เป็น" ครับ ไม่ใช่ทำแบบเดิม ด้วยการใช้ระบบ auto pilot จนเป็นงานรูทีน หรือ ทำงานมั่วไปหมด จนไม่รู้ว่าควรทำอะไรก่อน-หลัง และหัวใจสำคัญข้อนี้คือ ทำงานแล้วต้องพัฒนางานนั้นๆ ให้มีคุณค่า (Value) มากกว่าเดิมอยู่เสมอ
2.4 Communication 
การสื่อสารที่หลายคนอาจงง ว่ามันมาอยู่ในการคิดได้อย่างไร?
ถ้ามองแบบ การประมวลผล ข้อนี้อยู่ในการคิดถูกแล้วครับ เพราะ การรับ-ส่ง ข้อมูล ถือเป็นสาระสำคัญของระบบการคิดเลย

ถ้าเรารู้จักถามให้เป็น ทำใจให้เย็น เพื่อฟังคนอื่น เราจะได้ข้อมูลที่เป็น input ที่ดีเลยครับ ที่จะให้เราวิเคราะห์ปัญหา หรือ สถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างแม่นยำกว่าเดิม

ในทางตรงข้ามสิ่งที่เป็น output อย่างการสื่อสารในที่ชุมชน ก็ช่วยให้เราส่งข้อมูลที่มีไปยังคนที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ข้อมูลครบถ้วน และยังสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ ได้ด้วย และ output ของเรา ก็จะเป็น input ที่ดีให้กับคนที่ทำงานด้วยกันอีกต่างหาก

ทั้งหมดนี้ หากทำได้ เราก็จะคิดไว ทำไวมากกว่าเดิมเยอะ รวมทั้ง จะใช้ข้อมูลที่มีได้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลครับ
ทักษะหมวดที่ 3 Interpersonal Skills (ทักษะด้านคน)
ทักษะในหมวดสามนี้ ฟังดูเหมือนของเก่าอีกแล้ว นั่นคือ ทักษะด้านคน แต่ลองสังเกตดีๆ นะครับ ใครสังเกตเห็นบ้างไหม ว่าต่างตรงไหน?

ในโลกใหม่นี้ ทักษะด้านคน เน้นไปเรื่องความเป็นมนุษย์และการเชื่อมโยงกัน แบบ networking มากขึ้นครับ เพราะว่า เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าหลายๆ ครั้ง คนเราถูกขับเคลื่อนด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผล และต้องช่วยกันให้ผ่านการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและรวดเร็ว

และหากคนเราเชื่อมโยงกันด้านอารมณ์ความรู้สึกได้ จะเกิดพลังที่เรียกว่า 1+1 มากกว่า 2 และสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้องค์กรได้เยอะมากๆครับ

ด้วยเหตุนี้ สกิลย่อยๆ จึงแบ่งเป็น 3 ด้าน นั่นคือ

3.1 สร้างแรงขับเคลื่อน (Mobilize System)
ทั้งหมดนื้ คือ ทักษะที่จะสร้างพลัง ทำให้ทุกคนไปสู่เป้าหมายร่วมกันได้นั่นเองครับ โดยเฉพาะผู้นำ เพราะถ้าเป็นแบบอย่างที่ดีแล้ว ก็จะเกิดความไว้วางใจ และยิ่งถ้าสามารถ สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนได้ละก็ หนทางมีขวากหนามแค่ไหนก็สู้ตายละครับ (โดยเฉพาะยุคอนาคตที่ทุกอย่างไม่หมูแน่ๆ )

3.2 การสร้างความสัมพันธ์ (Developing Relationship)
คือ การสร้างความสัมพันธ์แบบมนุษย์ปุถุชนนี่เองครับ ซึ่งเน้นความสัมพันธ์ในแบบที่ทุกฝ่ายต้องเข้าใจกัน ไม่มีใครที่สูงกว่าต่ำกว่า ดังนั้น การพยายามเข้าใจเขา อ่อนน้อม และเป็นกันเอง จึงทำให้ต่างคนต่างไว้วางใจกันได้ และเกิดมิตรภาพที่ดี เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการช่วยเหลือและร่วมมือกันครับ

3.3 การสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพ (Team Effectiveness)
ด้านนี้หลัก ๆ คือ การผสานความต่าง เพราะอนาคตเราต้องทำงานที่มีความสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สูงกว่าเดิม
จุดนี้ให้เราลองนึกถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ได้ครับ ว่า สมัยก่อนที่แต่ละเครื่องไม่มีเน็ตเวิร์คเชื่อมกันนั้นสมรรถนะ และความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ ไม่เท่าสมัยที่ Internet บูมเลย

แต่เมื่อทุกอย่างเป็นเครือข่าย มันเกิดการแลกเปลี่ยนไอเดีย ความคิด การถ่ายโอนความรู้ จนทำให้เกิดการพัฒนาในหลายๆ ด้านมากมาย (อย่างหนึ่ง ก็ธุรกิจใหม่ๆ ครับ)

ดังนั้น การที่ทีมงานสามารถผสานความต่างได้ จึงได้เปรียบมาก

นอกจากนี้ หากประกอบกับทักษะในการพัฒนาทีมงาน จนทำให้พวกเขาตัดสินใจได้เอง ขับเคลื่อนได้เอง เท่ากับว่างานต่างๆ จะฉับไวขึ้นอีกเยอะครับ

ดังนั้น ทักษะด้านคนทั้งสามกลุ่มนี้จึงเน้นการสร้างพลังจากแรงบันดาลใจ และความร่วมมือกันของคนทำงาน เพื่อให้สามารถพิชิตงานยากที่รออยู่ในอนาคต ไม่ใช่ให้สู้ตามลำพังครับ

อย่าลืมนะครับ อย่าลุยตัวคนเดียว หมดยุคของฮีโร่วันแมนโชว์แล้วครับ
ไปด้วยกัน ไปได้ไกลกว่าครับ
ทักษะหมวดที่ 4 DIGITAL SKILLS
อันนี้สำคัญ เพราะเรากำลังไปยุคดิจิทัล จะขาดทักษะนี้ไม่ได้เลยครับ จริงไหม?

แต่มันคืออะไรล่ะ เพราะหลายๆ ครั้งเราบอกทักษะดิจิทัลๆ มันกว้างจนหลายคนตีความในแบบที่ตัวเองเข้าใจ เช่น เขียนโปรแกรมบ้าง ใช้ Software เป็นบ้าง ฯลฯ

ดังนั้น สำหรับตอนนี้ผมขอสรุปแบบง่ายเลยละกันว่า คุณจะต้องมี 3 ด้านนี้ คือ

4.1 ความเข้าใจพื้นฐานในเรื่องดิจิทัลทั้งหมด (Digital Fluency Citizenship) ประหนึ่งว่าเกิดในยุคนี้ เช่น ชีวิตในแบบดิจิทัลเป็นยังไง เราจะมีชีวิตอยู่กับการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ตลอดเวลาแบบไหน และมีวิธีสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ร่วมกันยังไง

ซึ่งทั้งหมดนี้ หลายคนอาจไม่รู้ตัวว่า ได้ถูกปูพื้นฐานจากช่วงโควิด ไปเรียบร้อยแล้วครับ!!
เพราะช่วงวิกฤต เทคฯ ด้านดิจิทัลได้เป็นส่วนหนึ่งของทางรอด เราได้ซึมซับประสบการณ์ และนำโลกดิจิทัลมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และสร้างคุณค่าทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อให้รอด และจำเป็นต้องเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่ตลอดเวลาผ่านสื่อต่างๆ ก็คือ การเรียนรู้แบบยุคนี้ นั่นเองครับ

ที่เหลือ คือ ต่อยอดจากเดิม เพื่อสู้ศึกใหม่ที่รอหลังวิกฤตนี้ครับ (จริงๆ ก็คือ เทรนด์โลกเดิมสมัยก่อนหน้าวิกฤตเกิดนั่นแหละครับ)

4.2 ทักษะการใช้งาน Software และ ทักษะการพัฒนา Software 
ด้านนี้แบ่งเป็นทั้งผู้ใช้งานและผู้พัฒนาโปรแกรมนะครับ

ผู้พัฒนาโปรแกรม หลัก ๆ คือ ต้องมีระบบการคิดลำดับขั้นที่แม่นยำ เพื่อออกแบบพัฒนาโปรแกรมต่างๆ ได้ตรงตามการใช้งานครับ และมีการใช้ข้อมูลสถิติ ประกอบในการพัฒนามัให้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างตรงนี้ นึกถึงการออกแบบ App ของ Netflix ก็ได้ครับ เราใช้งานง่าย และสะดวกเพราะ เขาเก็บและใช้ข้อมูลต่างๆ มาประกอบการพัฒนามันอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ใช้อย่างเราเกิดและมีประสบการณ์ดีๆ

ผู้ใช้โปรแกรม ก็ต้องมีการศึกษาการทำงานของโปรแกรมที่ใช้ในงานให้เข้าใจด้วย เพื่อให้สามารถนำมันไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ และพัฒนาขั้นตอนการทำงานให้สอดคล้องกันครับ

4.3 ความเข้าใจในการทำงานร่วมกันของระบบดิจิทัลทั้งหมด
ถ้าทักษะใน ข้อสอง เน้นที่ "วิธีการใช้งานให้เป็น" ข้อสามนี้ ก็เน้นที่ "การใช้งานให้เกิดคุณค่ากับองค์กร" ครับ จึงต้องมองภาพรวมทั้งระบบให้ออกว่าเทคฯ ดิจิทัลนี้ สร้างคุณค่าต่างๆ ในธุรกิจอย่างไร? ไม่ว่าจะเป็น ด้านข้อมูล และประบุกต์ใช้ในงานแต่ละงานให้ราบรื่นที่สุดครับ
ทั้งหมดนี้ ก็คือ ทักษะทั้งสี่ด้านที่จำเป็นสำหรับคนในโลกใบใหม่ที่อะไรๆ จะไม่เหมือนเดิม อย่างที่เราคุ้นเคยแล้ว

ไม่ว่าเราจะอยู่ในส่วนงานใดลองนำไปปรับใช้ดูนะครับ เช่น การปรับตัวเอง การคัดเลือกคน พัฒนาคน หรือ การนำคนของเราให้พร้อมกับอนาคต ฯลฯ เพราะบริษัทต้องการกำลังสำคัญอย่างพวกคุณนี่แหละที่จะช่วยให้ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ครับ

ขอบคุณผู้อ่านที่ติดตามจนจบนะครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

4 วิธีสร้าง Work-Life Balance  แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
4 วิธีสร้าง Work-Life Balance แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต

สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน

7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง  เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง

เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ