How to Create Willingness at Work

วันที่: 19 ธ.ค. 2561 11:56:54     แก้ไข: 19 ธ.ค. 2561 13:16:03     เปิดอ่าน: 2,117     Blogs
จากที่ผมเคยพูดคุยกับผู้บริหารในองค์กรต่างๆ ทั้งที่มีประสบการณ์ หรือเพิ่งได้รับตำแหน่งใหม่ สิ่งที่ยากและสร้างความปวดหัวเป็นอย่างมาก กลับไม่ใช้งานยากที่ท้าทาย แต่กลับเป็นเรื่อง “การบริหารคน”  ที่มักจะ “ทำ”หรือ “ไม่ทำ” อะไรตามที่ผู้บริหารต้องการอยู่เสมอ หรืออาจเรียกง่ายๆว่า “ขาดความใส่ใจในการทำงาน” บางเรื่องก็ดูแล้วน่าจะเป็นเรื่อง Common Sense ธรรมดาๆ แต่ทำไมกลับคิดเองไม่ได้  หรือ บางเรื่องก็เป็นเรื่องสำคัญต่อองค์กร หรือความเป็นความตายของงาน กลับทำเฉยๆ แล้วดูไม่ใส่ใจมากเท่าที่ควร

จนหัวหน้าหลายคนตั้งคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นกับคนของเขา? ทีมงานไม่เก่ง ไม่ฉลาด ไม่มีไหวพริบหรือเปล่า? แต่คำตอบส่วนใหญ่ ก็จะเหมารวมว่า ทีมงานหรือลูกน้องคนนั้นๆ “ทัศนคติ” ไม่ดี เป็นตัวก่อปัญหาให้ทีมงาน และทางแก้ที่มักทำกันคือ การเพิกเฉยต่อเขาจนกลายปัญหาเรื้อรังในหน่วยงาน!  

จากปัญหาเพียงปัญหาเดียวว่า “ทำไมลูกน้องถึงไม่ใส่ใจในการทำงานเท่าที่ควร”  ผมว่าสาเหตุของปัญหาสามารถเกิดขึ้นได้หลายทางมาก  บางคนอาจเกิดจากปัจจัยภายในของตัวลูกน้องเอง แต่ในบางคนอาจเกิดปัจจัยแวดล้อมภายนอกตัวเขาก็ได้  สำหรับในครั้งนี้ผมขอกล่าวถึงเฉพาะในส่วนปัจจัยที่เกิดขึ้นภายในตัวลูกน้องก่อนนะครับ

ก่อนตอบปัญหานี้ เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “ความใส่ใจ” หรือ Willingness ของคนเกิดขึ้นจากอะไร?

สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ ตามลำดับเริ่มจาก   I Know”  ก่อนแล้วนำไปสู่ I Understand” จนเกิด “I Can” จนผลสุดท้ายเกิด I Will” ดังนั้นการจะสร้างความใส่ใจในการทำงานจึงมีขั้นตอน ไม่ใช่แค่เพียงบอกให้ “รู้” จะนำไปสู่ “ความใส่ใจ” ได้เลย

ขั้นตอนแรก การบอกให้ “รู้” จะเป็นขั้นของ “สมอง” เป็นเรื่องของเหตุและผล การทำแค่เพียงสั่งๆ โดยไม่มีเหตุผลที่สมเหตุ สมผลมาประกอบ ก็อาจทำให้คนรับรู้สึกว่ายังมีอะไรติดๆอยู่ อย่าคาดหวังว่าจะกระโดดไปถึงขั้นใส่ใจเลย แต่ขั้นรู้ ก็อาจจะยังไม่เกิดขึ้น

ขั้นที่สอง “เข้าใจ” ขั้นนี้เป็นขั้นที่เกี่ยวข้องกับ “จิตใจและอารมณ์” ล้วนๆ ดังนั้นขึ้นนี้คือขั้นการทำให้ลูกน้องมีความรู้สึกที่ดี และยอมรับมัน ซึ่งต้องอาศัยการเปิดใจซึ่งกันละกัน ขั้นนี้อาจจะใช้เวลาบ้าง แต่ถ้าเปลี่ยนใจลูกน้องได้ คุณจะได้ลูกน้องทีมีทัศนคติที่ดีต่องานชิ้นนั้นๆเพิ่มขึ้นอีกแน่นอน

ขั้นที่สาม “สามารถ” ขั้นนี้เกี่ยวข้องกับ “การลงมือทำ” ซึ่งขั้นนี้จะช่วยเสริมทั้งทักษะ และทัศนคติ เพราะการได้ลงมือทำ ลูกน้องนั้นจะพบว่ามันไม่ยากอย่างที่คิด แต่การมาถึงขั้นนี้ได้ อย่าลืมว่าต้องผ่านสองขั้นก่อนหน้านี้มาก่อนนะครับ เพราะถ้าไม่ผ่าน นอกจากจะไม่ส่งผลดีแล้ว ยังอาจทำให้รู้สึกว่าเป็นการกดดัน หรือบีบบังคับได้

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ถ้าหัวหน้าคนใดที่ได้ทำสามขั้นตอนนี้ครบ จะทำให้ลูกน้อง “เกิดความใส่ใจ” ในการทำงานมากขึ้น ถึงแม้จะเสียเวลาไปบ้างในช่วงเริ่มต้นเมื่อเปรียบเทียบกับการสั่งการไปเลย แต่ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ลูกน้องที่มีความตั้งใจในงาน และลดเวลาที่อาจใช้ในการแก้ไขปัญหาที่จะตามมาอีกมากมาย
“คุ้มมาก! ลองทำดูนะครับ”  

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

4 วิธีสร้าง Work-Life Balance  แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
4 วิธีสร้าง Work-Life Balance แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต

สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน

7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง  เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง

เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ