McKinsey เผยลักษณะคนทำงานที่โลกยุคใหม่ต้องการ (ตอนที่ 3 Interpersonal Skills) New

วันที่: 17 ก.พ. 2565 14:28:33     แก้ไข: 29 ม.ค. 2567 12:02:52     เปิดอ่าน: 3,020     Blogs
ทักษะในหมวดสามนี้ ฟังดูเหมือนของเก่าอีกแล้ว นั่นคือ ทักษะด้านคน

แต่ลองสังเกตดีๆ นะครับ ใครสังเกตเห็นบ้างไหม ว่าต่างตรงไหน?
ในโลกใหม่นี้ ทักษะด้านคน เน้นไปเรื่องความเป็นมนุษย์และการเชื่อมโยงกัน แบบ networking มากขึ้นครับ เพราะว่า เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าหลายๆ ครั้ง คนเราถูกขับเคลื่อนด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผล และต้องช่วยกันให้ผ่านการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและรวดเร็ว และหากคนเราเชื่อมโยงกันด้านอารมณ์ความรู้สึกได้ จะเกิดพลังที่เรียกว่า 1+1 มากกว่า 2 และสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้องค์กรได้เยอะมากๆครับ

ด้วยเหตุนี้ สกิลย่อยๆ จึงแบ่งเป็น 3 ด้าน นั่นคือ
 
1. สร้างแรงขับเคลื่อน (Mobilize System)
ทั้งหมดนื้ คือ ทักษะที่จะสร้างพลัง ทำให้ทุกคนไปสู่เป้าหมายร่วมกันได้นั่นเองครับ โดยเฉพาะผู้นำ เพราะถ้าเป็นแบบอย่างที่ดีแล้ว ก็จะเกิดความไว้วางใจ และยิ่งถ้าสามารถ สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนได้ละก็ หนทางมีขวากหนามแค่ไหนก็สู้ตายละครับ (โดยเฉพาะยุคอนาคตที่ทุกอย่างไม่หมูแน่ๆ ) ดังนั้น ทักษะย่อยที่ต้องฝึกฝนก็คือ 
  • การเป็นแบบอย่างที่ดี (Role Model) 
  • ทักษะเจรจาแบบ win-win
  • การสร้าง Vision ที่เร้าใจ
  • การสร้างความเป็นองค์กร
2. การสร้างความสัมพันธ์ (Developing Relationship)
คือ การสร้างความสัมพันธ์แบบมนุษย์ปุถุชน คนธรรมดานี่เองครับ ซึ่งเน้นความสัมพันธ์ในแบบที่ทุกฝ่ายต้องเข้าใจกัน ไม่มีใครที่สูงกว่าต่ำกว่า ดังนั้น การพยายามเข้าใจเขา อ่อนน้อม และเป็นกันเอง จึงทำให้ต่างคนต่างไว้วางใจกันได้ และเกิดมิตรภาพที่ดี เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการช่วยเหลือและร่วมมือกันครับ
  • ความเข้าใจ (Empathy)
  • ความไว้วางใจ (Trust)
  • ความนอบน้อม และเคารพสิทธิผู้อื่น 
  • ความเป็นกันเอง
3. การสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพ (Team Effectiveness)
ด้านนี้หลัก ๆ คือ การผสานความต่าง เพราะอนาคตเราต้องทำงานที่มีความสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สูงกว่าเดิม จุดนี้ให้เราลองนึกถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ได้ครับ ว่า สมัยก่อนที่แต่ละเครื่องไม่มีเน็ตเวิร์คเชื่อมกันนั้นสมรรถนะ และความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ ไม่เท่าสมัยที่ Internet บูมเลย
แต่เมื่อทุกอย่างเป็นเครือข่าย มันเกิดการแลกเปลี่ยนไอเดีย ความคิด การถ่ายโอนความรู้ จนทำให้เกิดการพัฒนาในหลายๆ ด้านมากมาย (อย่างหนึ่ง ก็ธุรกิจใหม่ๆ ครับ) ดังนั้น การที่ทีมงานสามารถผสานความต่างได้ จึงได้เปรียบมาก นอกจากนี้ หากประกอบกับทักษะในการพัฒนาทีมงาน จนทำให้พวกเขาตัดสินใจได้เอง ขับเคลื่อนได้เอง เท่ากับว่างานต่างๆ จะฉับไวขึ้นอีกเยอะครับ
 
  • การส่งเสริมทีมงานให้ทั่วถึง
  • ส่งเสริมความต่างบุคคล 
  • การแก้ไขความขัดแย้ง (Conflict Management)
  • สร้างความร่วมแรงร่วมใจ (Collaboration)
  • การโค้ช 
  • การมอบอำนาจ (Empower) หรือ สร้างให้ทีมงานพึ่งพาตนเองได้

ทักษะด้านคนทั้งสามกลุ่มนี้ จึงเน้นการสร้างพลังจากแรงบันดาลใจ และความร่วมมือกันของคนทำงาน เพื่อให้สามารถพิชิตงานยากที่รออยู่ในอนาคต ไม่ใช่ให้สู้ตามลำพังครับ

อย่าลืมนะครับ อย่าลุยตัวคนเดียว หมดยุคของฮีโร่วันแมนโชว์แล้วครับ

ไปด้วยกัน ไปได้ไกลกว่าครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 
อ้างอิง : https://mck.co/3dumINm

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

4 วิธีสร้าง Work-Life Balance  แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
4 วิธีสร้าง Work-Life Balance แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต

สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน

7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง  เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง

เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ