McKinsey เผยลักษณะคนทำงานที่โลกยุคใหม่ต้องการ (ตอนที่ 4 Digital Skills)

วันที่: 17 ก.พ. 2565 14:42:57     แก้ไข: 31 ม.ค. 2567 09:05:36     เปิดอ่าน: 1,938     Blogs
มาตามสัญญาครับ สำหรับทักษะสุดท้ายนี้ก็คือ Digital Skill ครับ อันนี้สำคัญ เพราะเรากำลังไปยุคดิจิทัล จะขาดทักษะนี้ไม่ได้เลยครับ จริงไหม?

แต่มันคืออะไรล่ะ เพราะหลายๆ ครั้งเราบอกทักษะดิจิทัลๆ มันกว้างจนหลายคนตีความในแบบที่ตัวเองเข้าใจ เช่น เขียนโปรแกรมบ้าง ใช้ Software เป็นบ้าง ฯลฯ ดังนั้น สำหรับตอนนี้ผมขอสรุปแบบง่ายเลยละกันว่า คุณจะต้องมี 3 ด้านนี้ คือ

ด้านแรก ความเข้าใจพื้นฐานในเรื่องดิจิทัลทั้งหมด (Digital Fluency Citizenship)
ประหนึ่งว่าเกิดในยุคนี้ เช่น ชีวิตในแบบดิจิทัลเป็นยังไง เราจะมีชีวิตอยู่กับการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ตลอดเวลาแบบไหน และมีวิธีสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ร่วมกันยังไง

ซึ่งทั้งหมดนี้ หลายคนอาจไม่รู้ตัวว่า ได้ถูกปูพื้นฐานจากช่วงโควิด ไปเรียบร้อยแล้วครับ!!

เพราะช่วงวิกฤต เทคฯ ด้านดิจิทัลได้เป็นส่วนหนึ่งของทางรอด เราได้ซึมซับประสบการณ์ และนำโลกดิจิทัลมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และสร้างคุณค่าทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อให้รอด และจำเป็นต้องเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่ตลอดเวลาผ่านสื่อต่างๆ ก็คือ การเรียนรู้แบบยุคนี้ นั่นเองครับ ที่เหลือ คือการต่อยอดจากเดิม เพื่อสู้ศึกใหม่ที่รอหลังวิกฤตนี้ครับ (จริงๆ ก็คือ เทรนด์โลกเดิมสมัยก่อนหน้าวิกฤตเกิดนั่นแหละครับ) 

อย่างไรก็ตาม ลองมาดูกันให้ครบๆ ว่า เรายังต้องเติมทักษะการเป็นประชากรในโลกยุคดิจิทัลด้านไหนอีกบ้างจากรายการต่อไปนี้นะครับ
 
  • ความเข้าใจโลกดิจิทัล
  • การเรียนรู้แบบดิจิทัล
  • ความร่วมมือด้านดิจิทัล
  • จริยธรรมในโลกดิจิทัล
ด้านที่สอง คือ ทักษะการพัฒนา Software และ ทักษะการใช้งาน Software 
ด้านผู้พัฒนาโปรแกรม หลัก ๆ คือ ต้องมีระบบการคิดลำดับขั้นที่แม่นยำ เพื่อออกแบบพัฒนาโปรแกรมต่างๆ ได้ตรงตามการใช้งานครับ และมีการใช้ข้อมูลสถิติ ประกอบในการพัฒนามัให้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างตรงนี้ นึกถึงการออกแบบ App ของ Netflix ก็ได้ครับ เราใช้งานง่าย และสะดวกเพราะ เขาเก็บและใช้ข้อมูลต่างๆ มาประกอบการพัฒนามันอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ใช้อย่างเราเกิดและมีประสบการณ์ดีๆ

ด้านฝั่งผู้ใช้โปรแกรม ก็ต้องมีการศึกษาการทำงานของโปรแกรมที่ใช้ในงานให้เข้าใจด้วย เพื่อให้สามารถนำมันไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ และพัฒนาขั้นตอนการทำงานให้สอดคล้องกันครับ

โดยทักษะด้านนี้แบ่งเป็นข้อย่อยๆ ได้แก่
 
  • ความเข้าใจเรื่องโปรแกรม
  • การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติ
  • การคิดแบบมีลำดับขั้นตอนทางคอมพิวเตอร์ (Computational & Algorithm Thinking)
ฝั่งที่เป็นนักพัฒนาก็เรียนรู้ลึกหน่อย ส่วนฝั่งผู้ใช้ก็เรียนรู้หลักการทำงานคร่าวๆ พอเป็นไอเดีย และประสานงานกับผู้พัฒนาให้เข้าใจกันครับ
 
สำหรับทักษะด้านสุดท้ายในหมวดนี้ ก็คือ ความเข้าใจในการทำงานร่วมกันของระบบดิจิทัลทั้งหมด
ถ้าทักษะใน ข้อสอง เน้นที่ "วิธีการใช้งานให้เป็น" ข้อสามนี้ ก็เน้นที่ "การใช้งานให้เกิดคุณค่ากับองค์กร" ครับ จึงต้องมองภาพรวมทั้งระบบให้ออกว่าเทคฯ ดิจิทัลนี้ สร้างคุณค่าต่างๆ ในธุรกิจอย่างไร? ไม่ว่าจะเป็น ด้านข้อมูล และประยุกต์ใช้ในงานแต่ละงานให้ราบรื่นที่สุดครับ
ความรู้และทักษะที่จำเป็นในด้านนี้ก็ได้แก่
 
  • ความเข้าใจเรื่องข้อมูล (Data)
  • ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยทางระบบคอมพิวเตอร์ (Cyber security)
  • ระบบอัจฉริยะ (Smart systems)
  • •การนำเทคโนโลยีมาใช้งานจริงและเกิดผลลัพธ์ 

ก็จบสำหรับซีรี่ย์นี้นะครับว่า ทักษะ (จริงๆ มี mindset ปนๆ ด้วย) ได้แก่

1. Leadership Skills
2. Cognitive Skills 
3. Interpersonal Skills และ
4. Digital Skills 

ทั้งหมดนี้ ก็คือ ทักษะทั้งสี่ด้านที่จำเป็นสำหรับคนในโลกใบใหม่ที่อะไรๆ จะไม่เหมือนเดิม อย่างที่เราคุ้นเคยแล้ว ไม่ว่าเราจะอยู่ในส่วนงานใดลองนำไปปรับใช้ดูนะครับ เช่น การปรับตัวเอง การคัดเลือกคน พัฒนาคน หรือ การนำคนของเราให้พร้อมกับอนาคต ฯลฯ เพราะบริษัทต้องการกำลังสำคัญอย่างพวกคุณนี่แหละที่จะช่วยให้ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 
อ้างอิง : https://mck.co/3dumINm

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

4 วิธีสร้าง Work-Life Balance  แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
4 วิธีสร้าง Work-Life Balance แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต

สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน

7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง  เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง

เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ