Quiet Quitting ไม่ใช่เป็นเทรนด์ แต่จริงๆ มีมานานแล้ว

วันที่: 07 ก.พ. 2566 16:23:03     แก้ไข: 28 ก.พ. 2566 13:38:56     เปิดอ่าน: 874     Blogs
Quiet Quitting คำนี้เป็นกระแสในโลกโซเชี่ยลอย่างรวดเร็ว จนทำให้สื่อดังๆ หลายที่ตีข่าววิธีการทำงานแบบใหม่นี้ว่าเป็นเทรนด์ของคนทำงานยุคใหม่ แต่อ่านไปอ่านมาชักคุ้นๆ ว่า การทำงานแบบนี้ก็มีมานานแล้วในบ้านเรา

แค่มันไม่ทันสมัย กินความหมายกว้าง และดูเป็นลบมากกว่า นั่นคือ "การทำงานเช้าชามเย็นชาม"

Quiet Quitting  เป็นประเด็นในต่างประเทศ ผมเข้าใจว่าเป็นเพราะสังคมและวัฒนธรรมการทำงานของพวกเขาค่อนข้างที่จะเป็นแบบ งานคืองาน ต้องทำแบบทุ่มเท
ตัวอย่างเช่น

ทางฝั่งจีน ที่มีวัฒนธรรมการทำงานแบบ '996'
นั่นคือ ทำงานตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึง 3 ทุ่ม เป็นเวลา 6 วันต่อสัปดาห์
คิดเป็นชั่วโมง นั่นคือ 72 ชั่วโมงนะครับ!

แม้แต่ คนดังฝั่งอเมริกาอย่าง อีลอน มัสก์ ยังเคยมีความเห็นที่อยากให้พนักงานมีชั่วโมงการทำงานที่มากขึ้นแบบนี้ด้วย
ซึ่งในบ้านเรานั้นตกประมาณ 40-48 ชม ซึ่งน้อยกว่าเกือบครึ่ง

ประกอบกับวิกฤตในช่วงนี้ ที่พนักงานต้องทำงานมากกว่าเดิม จึงเกิดความกดดันเพิ่มมากขึ้นเยอะ
ทำให้พนักงานหลายคนรู้สึกว่า "พอเหอะ" ทุ่มเทไป แล้วสุขภาพย่ำแย่ทั้งกายใจ "แล้วจะทำไปเพื่อ????"

กระแสของการ Quiet Quiting หรือ หยุดงานแบบเงียบ จึงเริ่มปรากฎ ทั้งในฝั่งเอเชีย และ อเมริกาเอง
นั่นคือ ทำงานให้พอบรรลุเป้า แต่ไม่เอาการเติบโต เพราะมันบั่นทอนชีวิตเกินไป

สำหรับในบ้านเรา อย่างที่ผมบอกไปข้างต้น การ Quiet Quiting ที่มาในแบบ "เช้าชามเย็นชาม"
มีบางส่วนต่างจากฝั่งโน้น คือ

1. บางครั้งไม่ได้เกิดจากความเหนื่อยหน่าย หรือ Burnout แต่ทำมันอย่างตั้งใจ แถมทำแล้วสบายใจด้วยสิ
2. บางคนใช้เป็น "เทคนิคพิเศษ" ในการเบาแรง เช่น "การเสกตัวเลข"ทำให้ยังอยู่ในองค์กรได้ แถมมี well being ที่ดีได้ด้วยนะ ซึ่งคนกลุ่มนี้ ขอยังไม่พูดถึงนะครับ เพราะไม่ใช่กลุ่มที่ควรส่งเสริม

Quiet Quiting ที่น่าเป็นห่วงและตรงความหมายแบบเมืองนอกจริงๆ นั่น คือ ต้องเกิดภาวะเหนื่อยหน่ายจากการทำงาน และบรรยากาศที่ย่ำแย่ขององค์กร คล้ายๆ กับการประท้วงแบบเงียบๆ

สิ่งที่น่าเป็นห่วง สำหรับเรื่อง Quiet Quiting คือ การที่พนักงานชั้นดีมีอนาคต ที่เริ่มหันมา Quiet Quiting ต่างหาก
องค์กร หน่วยงานที่ต้องดูแลเรื่องคน และหัวหน้างานทั้งหลาย จึงต้องระวังและใส่ใจพวกเขาให้มากขึ้นก่อนที่เขาจะลาจาก จนทำให้องค์กรขากำลังสำคัญ (ยิ่งช่วงนี้ วิกฤตจากการถดถอยทางเศรษฐกิจกำลังมา)

รากของปัญหานี้ คนส่วนใหญ่อาจมองที่องค์กร หรือ หัวหน้างาน ว่าเป็นส่วนสำคัญ ลำดับแรกๆ
โทษฐานสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ไม่เหมาะสม ไม่ดูแลความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน

จนอาจลืมว่ายังมีอีกด้านที่สำคัญนั่นคือ ตัวพนักงานด้วย

แม้ว่าพนักงานจะทำงานได้ดี มีทักษะในงานมากแค่ไหน แต่สิ่งสำคัญในการรับมือกับสภาพการทำงานงานที่ชวนให้หมดใจจะทำงาน (เริ่ม Brownout) คือ การพัฒนาให้พวกเขา รู้วิธีการปรับ mindset และ ทักษะ Soft skills ในการจัดการงานและคน ไปพร้อมๆ กันด้วยครับ จึงจะทำให้เอาตัวรอดและกระตุ้นตัวเองให้กลับมาทำงามอย่างทุ่มเทได้ดังเดิม ก่อนที่จะหมดไฟ มอดไหม้ทั้งใจกาย (Burnout) หรือใช้ทางออกแบบ Quiet Quiting ในการทำงาน
อย่างไรก็ตาม ถ้าจะให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี ควรแก้ปัญหาทั้งสามส่วนนี้
  1. องค์กรอย่างหวังพึ่งให้หัวหน้าทำคนเดียว
  2. หัวหน้าอย่างหวังให้ลูกน้องปรับ mindset เพียงฝ่ายเดียว
  3. ลูกน้องอย่าโทษแต่หัวหน้าและองค์กร และหวังให้เขาปรับทุกอย่างให้เป็นดั่งใจตนเอง
แต่ละคนแต่ละส่วน ควรจะช่วยกันปรับตามหน้าที่ของตัวเอง และทำไปด้วยกัน แล้วองค์กรจะน่าอยู่ หัวหน้าก็จะรักษาพนักงานที่เก่งกาจได้
ส่วนตัวพนักงานเองก็จะได้พบความสุขในการทำงานที่ตอบโจทย์ทั้งการเติบโตในสายงาน และ ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของตัวเองไปพร้อมๆกันครับ

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

4 วิธีสร้าง Work-Life Balance  แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
4 วิธีสร้าง Work-Life Balance แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต

สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน

7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง  เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง

เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ