ทีมของ NetFlix ขึ้นชื่อว่า เป็นทีมที่รวดเร็วและทรงประสิทธิภาพ
เราจึงนำมาเป็นหนึ่งในตัวอย่างของ Webinar ล่าสุด ในเรื่องการปรับทีมให้สามารถฟื้นฟูบริษัทได้อย่างรวดเร็วหลังจากวิกฤตโควิด 19
จริงอยู่ว่า NetFlix อาจไม่ได้ประสบปัญหาในช่วงนี้เท่าไรนะครับ เพราะ ช่วงวิกฤติยังอุตสาห์เติบโตได้ โดยมี user เพิ่มขึ้น 2 เท่า (16 ล้านบัญชีโดยประมาณ) แต่การปรับทีมทำงานของเขานี้เป็นจุดเด่นมานานแล้ว และการทำงานอย่างรวดเร็วเป็นกุญแจสำคัญในการพลิกสถานการณ์ให้กลับมาแข่งขันทางธุรกิจได้ดีมากๆ
ทำไมเน็ตฟลิกซ์จึงมีทีมที่เป็นเอกลักษณ์แบบนี้
เพราะเขาต้องการความเร็วเพื่อชนะคู่แข่งครับ
แถมในตอนนั้นไม่ใช่คู่แข่งที่ธรรมดาด้วย แต่เป็นถึงยักษ์ใหญ่ในวงการอย่าง Block Buster เลยทีเดียว
รายละเอียดสามารถหาอ่านได้ทั่วไปครับ
เพราะสิ่งสำคัญที่ผมอยากให้มอง คือ
กลไกในการสร้างทีมของเขามากกว่า
ผมเองก็เป็นแฟนของบริการ VDO on-demand หลายค่าย นอกจาก Netflix ก็ยังติดตามทั้ง Amazon Prime , HDB Go รุ่นเก่าหน่อยก็อย่าง Hollywood TV, Hooq ฯลฯ จึงพอพูดได้เต็มปากครับว่า
ของเขาดี และรู้ใจเราอย่างไม่น่าเชื่อจริงๆ
ไม่ใช่แค่เรื่องคุณภาพหนัง
แต่ทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกจุดที่เราสัมผัส รับรู้
(หรือที่ภาษาการตลาดเรียกว่า Customer Experience)
แพลตฟอร์มของ NetFlix สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด
นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นความตั้งใจของทีมที่ทำงานอย่างพิถีพิถันจนตอบโจทย์และทำให้ NetFlix โตอย่างรวดเร็วจนโค่นเจ้าตลาดอย่าง BlockBuster ในยุคนั้น ภายในเวลา 5 ปี (แง่มูลค่าของบริษัท) ทั้งๆที่ตั้งมาไม่นาน
ทาง CFG จึงถอดรหัส ความสำเร็จที่รวดเร็วของ NetFlix ตามสูตรของ Formation X ซึ่งเป็นเครื่องมือการสร้างทีม ของ CFG
เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างทีม ให้องค์กรของคุณสามารถฟื้นตัวกลับมาหลังโควิด 19 ได้
โมเดล Formation X คือ เครื่องมือเพื่อการสร้างทีมงาน ให้สามารถปรับทีมรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและเห็นผลลัพธ์
โดยทีมทำงานนั้นจะมีลักษณะร่วม 2 แกน คือ ความแม่นยำ (Accuracy) และรวดเร็ว (Speed)
แกน 1 ความแม่นยำ (Accuracy)
เกิดจากสองส่วนย่อย คือ กิจกรรมที่มุ่งเน้น (Focused Activities) และ การตรวจสอบและปรับปรุง (Check & Change)
NetFlix โดนใจลูกค้า เพราะ เขาจะมีการจดจ่อกับกลยุทธ์หลักของตัวเองอย่างชัดเจน เช่น เรื่องของ Customer Focus
เมื่อเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าอย่างละเอียดว่า ต้องการรับชมอย่างต่อเนื่อง ต้องการให้มีการแนะนำหนังใหม่ๆ ไม่อย่างให้มีโฆษณามาคั่น ฯลฯ
จึงสามารถกำหนดกิจกรรมการทำงานของสมาชิกในทีมพัฒนาแพลตฟอร์มได้อย่างแม่นยำว่า ต้องทำอะไรบ้างและใครที่ต้องดู เช่น ต้องปรับ App ให้ มีปุ่ม post play (เล่นต่อ) Intro Skip (ข้าม) รวมถึงการทำ Original Content เพื่อให้เข้าถึงรสนิยมของลูกค้าแต่ละรสนิยม แต่ละประเทศได้ และต้องมีการวัดผลสำเร็จตามเป้าหมายของกิจกรรมที่ทำเสมอ
ถ้าไม่ได้ไม่ดีก็ปรับแก้ใหม่อยู่ตลอดเวลา เมื่อโฟกัสอย่างแน่วแน่ตรงนี้ จึงได้สิ่งที่ดีที่สุดและตอบโจทย์ลูกค้าอย่างแม่นยำ
แกนที่ 2 ความเร็ว (Speed)
หากมัวแต่เล็งให้แม่น ก็คงช้าคงไม่ทันคู่แข่ง สิ่งสำคัญอีกอย่างจึงต้องสร้างให้ทีมทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น เพื่อให้เกิดความเร็วทั้งกระบวนการทำงานและการปรับปรุงเป้าหมายให้แม่นยำขึ้นด้วย
กติการการทำงานเพื่อให้เร็ว (Agile Working Rules) จึงเป็นตัวกำหนด Mindset ของทีมงาน เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานที่ต้องการ ซึ่งต้องระบบออกมาเป็นพฤติกรรมให้ชัดๆ ว่าสิ่งไหนทำได้ และ สิ่งไหนไม่ควรทำ Do & Don't ของทีม NetFlix จึงมีหน้าตาประมาณนี้ครับ
Do | Don’t |
---|---|
- สื่อสารอย่างเปิดเผยชัดเจน ทันที และแก้ปัญหา - พูดความจริงต่อกัน และพูดต่อหน้ากัน - มีความคิดหนักแน่น ยึดความจริง เอาหลักฐานมาพิสูจน์ - ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์กับลูกค้า - เปิดกว้างในการออกไอเดีย - ให้อิสระกับคนในทีมในการตัดสินใจ |
- ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์กับลูกค้า ไม่ใช่เพื่อพิสูจน์ว่าตนเองถูก - ไม่ใช้การควบคุม - หลีกเลี่ยงTop Down Decision ผู้นำยอมถอยให้คนในทีมได้ |
อีกส่วนที่จำเป็นมากๆ ก็คือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื่อต่อการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่รวดเร็ว (Faster Working Process) เพราะถ้าไม่ทำระบบรองรับคน ยังไงพฤติกรรมเขาก็ไม่เปลี่ยน และนี่เป็นอุปสรรคของทุกองค์กรที่มุ่งเปลี่ยนวัฒนธรรมแทบตาย แต่ไม่ปรับสภาพแวดล้อมรองรับ สุดท้ายก็ลงเงินลงแรงไปฟรีๆ
Patty Mccord อดีต HR ของ NetFlix ได้แชร์ไอเดียไว้ว่า เธอได้สร้างระบบที่เอื้อให้เกิดผลงานดังนี้ครับ
- ส่งเสริมให้เกิดการสื่อสารแบบเปิด ทุกคนมีสิทธิออกความคิดเห็น และตัดสินใจ
- การยืดหยุ่นชั่วโมงการทำงาน ดูที่ผลงานมากกว่าเวลาการทำงานหนัก
- ผู้จัดการต้องคอยสนับสนุนการทำงานของลูกน้องให้ราบรื่น
- อิงระบบการให้ feedback ที่บ่อยกว่าการประเมินผลประจำปี
ผลลัพธ์ก็คือ Netflix มีการเติบโตด้านคอนเทนต์อย่างมากจำนวนมากกว่า 2 เท่าในทุกๆ ปี และยังคงเป็นเป็นผู้นำด้าน Content ต่อไปแม้ว่าจะมีผู้ท้าชิงอีกมากมายที่อยากแซงให้ได้
สูตรของการทำทีม แบบ Formation X ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อให้ทีมทำงานเกิดวิธีการ (Process) ที่ทำได้ง่ายและรวดเร็ว บางส่วนจึงถูกปรับไปบ้าง เช่น การสร้างวัฒนธรรมทีม จะเน้นไปที่ Rule หรือ กติการ่วมกันมากกว่า เพราะเน้นที่ Quick Win Goal ทำให้การสร้างวัฒนธรรมอาจช้าเกินไป สำหรับสถานการณ์ที่ธุรกิจต้องฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว
แต่ก็ยังสามารถต่อยอดไปสู่การสร้างวัฒนธรรมในระยะยาวได้ด้วย เพราะเมื่อสมาชิกในทีมมีพฤติกรรมการทำงานที่เปลี่ยนไป และมองเห็นประโยชน์จากการทำพฤติกรรมนั้น จะเกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน จนเป็นวิธีการทำงานร่วมกันแบบใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์องค์กรได้เอง (การเปลี่ยนพฤติกรรมแบบ outside-in)
เมื่อทำได้ทั้งความแม่นยำและรวดเร็ว บริษัทก็สามารถเกิดผลงานได้เร็วตามไปด้วย และทำให้ลุกขึ้นจากการล้มเพราะวิกฤตได้เร็วกว่าเดิมครับ
ผมพยายามสรุป Formation X ในอย่างย่อๆ แล้วนะครับ แต่รายละเอียดมีเยอะจริงๆ ใครอ่านถึงตรงนี้ได้ ขอยอมรับในความตั้งใจมากครับ
ผู้อ่านท่านใดสนใจ รอติดตามชม เทปย้อนหลังของ Webinar ได้
ยังมีให้ชมเช่นเคย ยังไงจะเร่งทีมงานผมให้ตัดต่ออย่างแม่นยำ & รวดเร็ว แบบการทำงานของ NetFlix ก็แล้วกันครับ
---------------------------------
อนิรุทธิ์
Source:
- Powerful ทำไมเน็ตฟลิกซ์ ถึงมีแต่คนโคตรเก่ง
- หลักสูตร Formation X by Coach For Goal
---------------------------------
#CoachForGoalArticle #CFG
สร้างทัศนคติการทำงานให้ดีขึ้นในทุกวันแบบง่ายๆ
---------------------------------
รายละเอียดโปรแแกรมพัฒนาบุคลากรองค์กรที่
www.coachforgoal.com
สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ