ทักษะการคิดจะเพิ่ม ถ้าเริ่มพัฒนา Thinking Mechanism

วันที่: 03 เม.ย. 2566 15:23:54     แก้ไข: 03 เม.ย. 2566 15:38:02     เปิดอ่าน: 865     Blogs
อนาคตคนทำงานจะอยู่ยาก ถ้าปราศจากระบบความคิดที่เหมาะสม เพราะโลกเราเกิดการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วกว่าเดิมมากครับ

ผู้คนก็มีความแตกต่างมากขึ้นทั้งเรื่องของความสนใจ ช่วงอายุที่หลากหลาย แถมยังมีสถานการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ทั้งสร้างวิกฤตและโอกาสใหม่ๆ
พอความซับซ้อนมันมากและเป็นเรื่องใหม่ๆ ทั้งนั้น วิธีคิดแบบเดิมๆ ก็เริ่มไม่ได้ผลครับ กูรูหลายท่านระดับโลกจึงมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันครับว่า ถ้าอย่างนั้น สิ่งที่จะช่วยได้ ก็คือ การยกระดับระบบการคิดของคนทำงานนี่แหละ
โดยระบบการคิดนี้ ที่ใช้กันหลักๆ ในการทำงานก็จะประกอบไปด้วย

1. Analytical Thinking
คนที่วิเคราะห์สิ่งต่างๆได้ดีกว่า จะแยกแยะองค์ประกอบของประเด็นต่างๆ ได้ดี จึงสามารถทำความเข้าใจในสถานการณ์ที่ซับซ้อนแบบทุกวันนี้ได้
ผลจากที่มีการคิดวิเคราะห์ คือ เขาจะสามารถวางแผน จัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น และช่วยในการสื่อสารและนำเสนอความคิดได้อย่างชัดเจนและมีเหตุผลได้ด้วย

2. Critical Thinking
คนที่มีการคิดแบบนี้ จะมีดุลยพินิจ และวิจารณญาณดีกว่า โดยจะใช้ความคิด โดยการยึดหลักเหตุผล มีหลักเกณฑ์ และใช้หลักฐานได้เพื่อนำไปสู่การสรุปและตัดสินใจ
ในการทำงาน จึงลดอคติจากการใช้ข้อมูลต่างๆ ได้ ดีกว่า ตรงสิ่งที่ควรจะเป็นมากกว่าการใช้ ความเห็นความเชื่อของตน หรือแนวทางบ้างอย่างที่อาจล้าสมัยไปแล้ว

3. Creative Thinking
คนที่คิดสร้างสรรค์กว่า จะช่วยให้มีไอเดียในการค้นหาทางแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์สถานการณ์ปัจจุบันได้ดีกว่าเดิม รวมถึงสร้างสินค้าและบริการใหม่ๆ ได้
ระบบการคิดทั้งหมดนี้ จึงจำเป็นมากๆ ครับสำหรับการทำงานในปัจจุบัน ที่ต้องพัฒนานาไม่ว่าจะทำงานในระดับใด ผู้บริหาร หัวหน้างาน หรือ แม้แต่พนักงาน
พอมองออกไหมครับว่า คนในที่ทำงาน หรือตัวเราเอง ต้องเสริมระบบการคิดแบบไหน เพิ่มเติมบ้าง จึงจะช่วยให่งานเราดี และมีประสิทธิภาพยิ่งกว่าขึ้นกว่าเดิม

4. Systems Thinking
คนที่คิดเป็นระบบกว่า จะรู้ว่าในสถานการณ์ทั่งยุ่งยากนั้น มีตัวแปรใดบ้างที่สัมพันธ์และกระทบกัน
เวลาแก้ปัญหาซึ่งมีความซับซ้อนจึงทำได้ตรงจุดมากขึ้น หายขาดไม่ต้องแก้ซ้ำไปมา
แถมเมื่อมองทั้งระบบเป็น จึงช่วยลดความขัดแย้งในการทำงานร่วมกัน เพราะได้ลดผลกระทบที่จะเกิดกับส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
ประโยชน์ของทักษะการคิดในแบบต่างๆ คือ 

Analytical Thinking
  • เข้าใจสิ่งต่างๆ จึงสื่อสารและนำเสนอความคิดได้อย่างชัดเจน
  • วางแผนและจัดลำดับสำคัญได้ดีขึ้น
Critical Thinking
  • ลดความผิดพลาดในการตัดสินใจ
  • คาดคะเนหรือสรุปความถูกต้อง
Creative Thinking
  • สร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้น
  • เป็นรากฐานของการสร้างนวัตกรรม
  • ช่วยสร้างความคิดหรือทางเลือกในการแก้ปัญหา
Systems Thinking
  • แก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ตรงจุดมากขึ้น
  • ลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้
  • ลดความขัดแย้งในการทำงานร่วมกัน
พอเห็นประโยชน์ของการมีระบบการคิดที่ดี (Thinking Mechanism) แล้วใช่ไหมครับ เริ่มต้นพัฒนาแล้วฝึกให้กลายเป็นทักษะการคิด (Thinking Skills) ที่เราใช้ทำงานในทุกๆ วันกันเถอะครับ
ดูรายละเอียด โปรแกรม Thinking Mechanism ที่นี่
 
หากท่านใดสนใจรายละเอียดของการพัฒนาผู้นำ Leading with Purpose นี้ สามารถขอคำปรึกษาเบื้องต้นได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่นี่
  
    เพิ่มเพื่อน    

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

4 วิธีสร้าง Work-Life Balance  แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
4 วิธีสร้าง Work-Life Balance แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต

สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน

7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง  เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง

เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ