ปัญหาทัศนคติ 7 ด้าน ที่ทำให้ผลการทำงานแย่ลงกว่าเดิม New

วันที่: 17 มี.ค. 2565 14:05:09     แก้ไข: 05 พ.ค. 2565 20:07:11     เปิดอ่าน: 3,883     Blogs
ทัศนคติ (Attitude) คือ ความคิดที่พนักงานมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งครับ

ความสำคัญของความคิดนี้ คือ ความคิดจะทำให้เกิดการกระทำตามมา (Action) ดังนั้น ความคิดนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะส่งผลต่อการทำงานของพนักงาน หรือ ลูกน้องของเราอย่างมากครับ
 
เมื่อเป็นหัวหน้างาน นอกจากรู้ว่า ผลงานที่ไม่ perform ของพนักงาน เกิดจากทัศนคติบางอย่างที่ผิดเพี้ยนไปแล้ว สิ่งถัดมาที่ต้องทำ ก็คือ ต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่า "ที่ทัศนคติเขาไม่เหมาะสม จนทำให้กระทบผลการทำงานนั้น เกิดจากความคิดด้านไหน" กันแน่?
ผมจึงขอให้ตัวช่วยในการวิคราะห์ ตามนี้นะครับ ว่า ปกติแล้ว พนักงานจะทำงานได้ดีหรือไม่นั้น ต้องดูความคิดของเขาที่มีต่อสิ่งต่างๆ ในงานทั้ง 7 ด้านนี้ นั่นคือ
 
1. ความคิดที่เขามีต่อตัวเอง เช่น หากเขาคิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถที่จะทำงานได้ การกระทำที่ตามมาก็คือ อาจจะเลี่ยงงานที่มอบหมาย ปฎิเสธงานนั้น หรือ ทำด้วยความไม่มั่นใจ งานที่ออกมาจึงครึ่งๆ กลางๆ ไม่เต็มที่
 
นี่เป็นแค่ตัวอย่างเดียวนะครับ เพราะ จริงๆ แล้วความคิดต่อตัวเอง ยังมีด้านอื่นๆ อีกมากมายต่างกันไป บางคนที่คิดว่าปัจจุบันตัวเองเก่งแล้ว ก็อาจจะไม่พัฒนา ไม่อยากเติบโต เมื่อไม่ฝึกทักษะให้ดีขึ้น งานที่ทำมาจึงไม่ดีเท่าที่ควรก็มีครับ
 
2. ความคิดที่มีต่องาน เช่น รู้สึกว่างานนั้นไม่ท้าทาย หรือ คิดว่า งานนั้นไม่ใชหน้าที่ของตน ผลที่ตามมาก็อาจจะทำงานนั้นอย่างไม่กระตือรือร้นก็ได้
 
3. ความคิดที่มีต่อเพื่อนร่วมงาน หากคิดว่าเพื่อนร่วมงานเป็นทีมเดียวกันการทำงานก็จะสอดประสานกันดี มีการให้ความช่วยเหลือ
แต่หากเป็นตรงข้าม ก็อาจไม่ช่วยเลือกกัน ไม่สื่อสาร ไม่เปิดเผยข้อมูล หรือ ยึดเอาแต่เป้าหมายส่วนตัว จนงานส่วนรวมเสียหายได้เช่นกันครับ
 
4. ความคิดที่มีต่อหัวหน้างาน ปัญหาที่มักเกิด คือ พนักงานรู้สึกไม่ไว้วางใจหัวหน้าของตน เพราะรู้สึกว่าไม่เป็นผู้นำที่ดี การทำงาน ก็อาจออกมาในลักษณะของการหมดไฟทำงาน และอาจลามไปจนถึงการลาออกได้ครับ
 
5. ความคิดต่อบริษัท ถ้าพนักงานคิดว่าบริษัทเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และดูแลเขาดีเพียงพอ พวกเขาก็จะมีไฟในการทำงาน พร้อมที่จะสร้างความเติบโตไปด้วยกัน
แต่หาก คิดว่าบริษัทเห็นแต่ประโยชน์ของตัวเอง และไม่แฟร์กับเขา ความทุ่มเทพวกนี้ก็จะหายไป จนแสวงหาแต่ประโยชน์ของตัวเอง เป็นต้น
 
6. ความคิดต่อลูกค้า เมื่อคิดไม่เหมาะสม ก็ทำความเข้าใจลูกค้าไม่เพียงพอ สิ่งที่ตามมา คือ ให้บริการไม่ได้ตามมาตรฐาน หรือ แก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด จนทำให้ลูกค้าไม่พึงพอใจ และอาจเกิดผลเสียต่อเป้าหมายในระยะยาวได้
 
7. ความคิดต่อสถานการณ์ อันนี้ ผมอยากให้เรามองถึงสถานการณ์ในปัจจุบันก็ได้ครับ เมื่อสถานการณวิกฤตรุมเร้า หากพนักงานเข้าใจ และคิดอย่างเหมาะสม จะทำให้เขาเกิดการปรับตัว เพื่อให้ทำงานภายใต้สถานการณ์ที่เป็นข้อจำกัดได้
 
แต่หากอ้างว่า สถานการณ์แบบนี้ก็ทำได้แค่นี้แหละ ก็จะไม่เกิดการปรับตัว ผลการทำงานก็มีแต่จะแย่ลงไปตามสถานการณ์นั่นแหละครับ
เมื่อ #ทัศนคติทำให้เกิดการกระทำ ในฐานะหัวหน้า หากพนักงานของคุณไม่ perform ลองวิเคราะห์สาเหตุทางความคิด หรือ ทัศนคติทั้ง 7 ด้านนี้ดูครับ มันอาจมีด้านใดด้านหนึ่งที่ผิดปกติไปจากเดิมก็เป็นได้

อ่านให้ออก แก้ให้ตรงจุด
ความคิดจุดไหนผิด ต้องแก้ที่จุดนั้น
แล้วลองโค้ชชิ่งพวกเขาดู

หากแก้ได้ การกระทำก็จะกลับมาถูกต้อง แล้วผลงานของพวกเขาก็จะกลับมาดีขึ้นเองครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

4 วิธีสร้าง Work-Life Balance  แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
4 วิธีสร้าง Work-Life Balance แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต

สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน

7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง  เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง

เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ