"จินตนาการสำคัญ กว่าความรู้"
เมื่อไอน์สไตน์ ว่าอย่างนั้น จึงทำให้เกิดการถกเถียงกันว่า
แล้วผู้นำควรจะมีจินตนาการที่คิดโครงการแปลกใหม่ ไอเดียบรรเจิด
มากกว่า เน้นความรู้วิชาการ งานวิจัยให้แน่นๆ ใช่ไหม?
ฝ่ายที่เห็นด้วย จะยืดอกบอกตัวเองว่า
ผู้นำต้องมีความฝันนำหน้า จึงถือว่ามีวิสัยทัศน์ มองไกล ไอเดียแจ่ม
ดูอย่าง สตีฟ จ๊อบส์สิ จินตนาการของเขาทำให้ Apple เติบโตดีแค่ไหน
ส่วนอีกฝ่าย ก็จะโต้ว่า ถ้ามีแต่ไอเดีย แต่ขาดกรณีศึกษา
ขาดวิชาความรู้เท่ากับมั่วนิ่ม พากันไปตายเสียมากกว่า เพราะวิธีใหม่ๆนั้น
ไม่มีใครเขาทำกัน ดูอย่างบิลเกตส์ สิ เขาบริหาร Microsoft จนเป็นยักษ์ใหญ่ได้
ก็เพราะ อ่านหนังสือหาความรู้มากมาย
ก่อนการถกเถียงจะบานปลายกว่านี้ ลองย้อนกลับมาดูบริบท ที่ไอน์สไตน์พูดให้มากขึ้นอีกหน่อย
"Imagination is more important than knowledge. For knowledge is limited,
whereas imagination embraces the entire world, stimulating progress, giving birth to evolution."
มุมมองของไอน์สไตน์ มองว่า ความรู้นั้นมีข้อจำกัด (กล่าวคือ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต)
แต่จินตนาการเป็นการมุ่งไปข้างหน้า กระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนที่ และเป็นจุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการ"
ซึ่งเขาก็ไม่ได้บอกให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
เพียงแต่ถ้าให้ชั่งน้ำหนัก เขาเลือกให้ "จินตนาการขี่กว่าอยู่หน่อยๆ" เพราะเหตุผลที่ว่าไปข้างต้น
และมันทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ เสมอ
หากจะคิดต่อยอดไปอีก ลองสมมติดูว่า
ถ้าผู้นำมีแต่ไอเดียความฝันเพียวๆ ขาดองค์ความรู้ในการดำเนินการ ก็คงจะไม่มีรางวัลใดๆ
แก่คนช่างฝัน เวลาผ่านไปสักสิบปี เขาก็ยังอาจจะคงนั่งอยู่กับความฝันเหมือนเดิม
ตรงข้าม หากเอาแต่ความรู้ล้วนๆ ก็อาจมองเห็นแต่หนทางเดิม ที่มีแต่รอยเท้าคนอื่นๆ
เดินผ่านมาแล้ว ไม่อาจมองเห็นทิศทางใหม่ๆ การคิดค้นสิ่งใหม่ก็ไม่เกิด
ยิ่งเป็นยุค Disruption นี้ ที่โลกเรามีซับซ้อนรวดเร็ว บางทีความรู้เดิมๆ อาจใช้ไม่ได้ผลด้วยซ้ำไป
ก็ต้องใช้จินตนาการเข้ามาช่วยเสริมด้วย
สรุปแล้ว ผู้นำจึงควรต้องมีทั้งสองอย่าง เพราะทั้งคู่เป็นเรื่องสำคัญ เหมือนขาข้างซ้ายและขวา
ที่ทำให้งานเดินไปได้ และไม่มีใครมาจำกัดว่าต้องมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
อย่าง บิล เกตส์ แม้คนทั่วไปจะรับรู้ว่า เขาเป็นหนอนหนังสือ แต่จริงๆ แล้วเขาก็มีจินตนาการมากพอ
ที่จะเห็นภาพของโลกที่ทุกคนมีคอมพิวเตอร์ส่วนตัวอยู่บนโต๊ะ ตั้งแต่ ปี 1975 แล้ว
ทำให้เขามุ่งมั่นที่จะสร้างบริษัท ไมโครซอฟท์ขึ้นมา โดยมีแนวร่วมคือ พอล อัลเลน
ส่วนกรณีของ จ๊อบส์เอง ก็มีคู่หูที่มีความรู้ทางเทคนิคอย่าง สตีฟ วอซเนียก ที่ช่วยส่งเสริม
ทำให้จินตนาการของเขาเป็นจริง ดังนั้น ผู้นำคนใด มีส่วนใดมากน้อย ก็สามารถพัฒนาทักษะอีกด้านเสริมได้
หรือ ลองหาตัวช่วยจากทีมงาน เพื่อให้งานเดินได้ ก็เป็นอีกทางเลือก
ไม่ต้องเสียเวลาเถียงกัน ว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ หรือ ความรู้สำคัญกว่าจินตนาการ
เพราะ สิ่งสำคัญกว่าทั้งคู่ คือ การเริ่มลงมือทำ
เอ้า! วันจันทร์แล้ว เริ่มต้นลงมือทำงานกันเถอะครับ
----------------------------------
Content: อนิรุทธิ์ ตุลสุข
Sources: Start with Why
Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking |
สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ