เมื่อ ไม่พึงพอใจในงาน พนักงาน ก็จะมีอาการ 4 แบบนี้

วันที่: 22 ธ.ค. 2564 16:50:16     แก้ไข: 21 ต.ค. 2566 11:21:39     เปิดอ่าน: 15,661     Blogs
พนักงานไร้ใจ เค้าจะเริ่มทำอะไรกันบ้าง?
 
ความพึงพอใจในงาน หรือ Job Satisfaction นั้น ถือว่าเป็นทัศนคติที่พนักงานมีต่อตัวงาน หรือ องค์กรครับ
ใครที่เคยเรียนสายพัฒนาบุคคล หรือ องค์กรมา จะจำได้ดีว่า นี่เป็นหัวข้อยอดฮิตตอนทำวิทยานิพนต์
จนอาจารย์ที่ปรึกษาหลายท่าน ถึงกับต้องออกโรงปรามเลยว่าเอาตัวแปรอื่นบ้าง เพราะมันเยอะและซ้ำกันมากจริงๆ
 
ความน่าแปลกใจ คือ งานวิจัยเยอะมาก แต่ปัญหาเรื่องนี้ยังมีมาตลอด และหากพนักงานมีความพึงพอใจของพนักงานน้อยละก็ มันมักจะหนีไม่พ้น 4 ข้อใหญ่ๆ นี้ครับ
 
1. ความท้าทายที่ลดลง เพราะรู้สึกว่างานที่ทำไม่ส่งเสริมให้ใช้ความสามารถได้อย่างเต็มที่ หรือ องค์กรไม่มีเส้นทางให้เค้าได้เติบโต
2. ค่าจ้าง อาจไม่เหมาะสม ไม่ยุติธรรม หรือ รู้สึกว่าไม่เป็นธรรม
3. สภาพแวดล้อม เกิดความไม่สะดวกในการทำงาน ไม่ปลอดภัย หรือ ทรัพยากรต่างๆ ไม่เอื้ออำนวย
4. เพื่อนร่วมงาน ที่อาจเรียกว่า "เพื่อน" ได้ไม่เต็มปากนัก เพราะ ไม่ได้ช่วยเหลือเกื้อกูล หนำซ้ำ อาจคอยทิ่มแทงกันยามเผลอ

ทั้งสี่ด้านนี้ อาจเรียกรวมๆ ให้เข้ายุคสมัยได้ว่า เป็น Employee Experience หรือ ประสบการณ์ที่ทุกด้านที่พนักงานได้รับจากการทำงานในองค์กรไม่ค่อยดีนัก
 
เมื่อเกิดความ "ไม่พึงพอใจในงาน" พฤติกรรมที่ตามมาก็จะเกิดตามความคิดที่มีครับ โดย Rusbule & Lowery ได้แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่
 
1. การยอมรับ หรือ เชื่อมั่น (Loyalty) แนวนี้มักเกิดกับคนที่ยอมปรับความคิด ให้เชื่อว่า องค์กรมีความจำเป็นบางอย่างจึงทำให้เกิด สิ่งที่ทำให้เขาไม่พอใจ เช่น หากค่าจ้างไม่เป็นธรรม ก็คิดว่า คงเป็นเพราะองค์กรมีเหตุผลบางอย่าง มีเหตุจำเป็นต้องคุมค่าใช้จ่าย เป็นต้น
2. การละเลย (Neglect) พนักงาน เกิดความเพิกเฉย ละเลย มาสาย ทำงานไม่เต็มที่ เหมือนคนไร้วิญญาณ หรือ เป็นซอมบี้ประจำออฟฟิศ อยู่ไปวันๆ
 
สองแบบแรกนี้ คือ กลุ่มคนที่แสดงพฤติกรรมเชิงรับ (Passive) ออมแรง ไม่แสดงออก
แต่กลุ่มคนอีกสองแบบหลัง นี่แหละครับ คือ กลุ่มออกตัวแรง ไม่ห่วงล้อฟรีละ นั่นคือ
3. เรียกร้อง (Voice) คือ มีการเรียกร้อง หรือ ตั้งคำถาม ต่อหัวหน้า หรือ ผู้บริหาร เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจในงาน และปรับปรุงเสีย โดยอาจออกมาในรูปแบบสหภาพ ก็ได้
4. ออก (Exit) คือ อันนี้คงไม่ต้องอธิบายเยอะ ออก ก็ คือ แยกทางกับบริษัท เช่น เริ่มหางานใหม่ หรือ ลาออกเลย
 
ทั้งหมดนี้ ก็คือ 4 รูปแบบ พฤติกรรมของพนักงานที่ไร้ใจกับงานและองค์กรแล้ว
ซึ่งเวลาสิ้นปีแบบนี้ เราก็อาจจะได้เห็นพฤติกรรมเหล่านี้กันชัด โดยเฉพาะแบบที่ 4 เพราะ ได้รับโบนัสกันเรียบร้อยแล้วครับ 555
 
เนื่องจากมันเป็นแนวคิดยุคคลาสสิก เมื่อโลกเราเปลี่ยนไป ความซับซ้อนของพฤติกรรมพนักงานก็มากขึ้น เกินกว่าที่ Rusbule & Lowery ว่าไว้ละ เช่น พนักงานบางคนอาจบ่นว่าจะออก แต่ไม่เคยออกสักที จนใกล้เกษียณ หรือ บางคนไม่ออก แต่ปล่อยข่าวลือเสมอ เพื่อให้องค์กรเสียหาย ฯลฯ
 
ผู้อ่านพอจะช่วยผมจัดได้ไหมครับ
ว่าคนพวกนี้ ควรอยู่ในตรงไหนของเมทริกซ์ในภาพเอ่ย?
หากสนใจรายละเอียดการพัฒนาผู้นำ ที่จะทำให้พนักงาน Engagement มากกว่าเดิม สามารถ Download เอกสาร หรือ สามารถขอคำปรึกษาเบื้องต้นได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่นี่ 
  
        เพิ่มเพื่อน    

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

4 วิธีสร้าง Work-Life Balance  แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
4 วิธีสร้าง Work-Life Balance แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต

สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน

7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง  เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง

เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ