เมื่อองค์กรคุณเริ่มเป็นไซโล จะมี 5 สัญญาณบ่งบอกดังนี้

วันที่: 20 ก.พ. 2563 16:12:10     แก้ไข: 19 ก.ย. 2566 12:12:01     เปิดอ่าน: 2,946     Blogs
โพสก่อนหน้านี้ ได้พูดถึง เรื่อง องค์กรไซโล (Silo Organization) จึงอยากขยายความ
เผื่อว่าท่านใดอยากรู้ว่า องค์กรเราแปรสภาพจากบริษัทเป็นไซโลไปรึยัง? จะสังเกตยังไงดี

เมื่อองค์กรคุณเริ่มเป็นไซโล จะมี 5 สัญญาณบ่งบอกดังนี้ ครับ

1. เริ่มรู้สึกว่าไม่รู้จักคนอื่นๆ นอกจากคนในทีมตัวเอง

2. เริ่มมีบรรยากาศการทำงานแบบ "พวกเขา" และ "พวกเรา" เป็น
พวกแผนกบัญชี พวกมาเก็ตติ้ง หรือ พวกเซลส์ ฯลฯ และรู้สึกว่าพวกทีมอื่นๆนี้
มักจะสร้างภาระ จนไม่อยากดีลงานด้วย เช่น พวกบัญชีชอบเขี้ยวในเรื่องไม่เป็นเรื่อง
จุกจิก หรือ พวกเซลส์ชอบรับปากลูกค้าและสร้างปัญหาตามมาเสมอ

3. พนักงานหลายคน เกิดความรู้สึกว่าไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม
ไม่มีความสุขกับการทำงาน ประสานงานลำบาก

4. พนักงานรู้สึกว่าแต่ละทีมทำงานซ้ำซ้อนกัน เนื่องจากขาดการสื่อสารระหว่างกัน
ซึ่งนำไปสู่ความไร้ประสิทธิผลและสูญเสียประสิทธิภาพการทำงานไป

5. ลูกค้าเริ่มบ่นว่าองค์กรของคุณทำงานไม่ประสานกัน จนเขาเสียความรู้สึกเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์
และได้รับประสบการณ์ที่แย่ๆ เมื่อต้องติดต่อองค์กรของคุณ เช่น "คราวที่แล้วติดต่อมา
บริษัทคุณไม่ส่งต่อข้อมูลกันรึไง" หรือ ทำนองว่า "เซลส์ของคุณบอกไว้อย่างนี้ ทำไมไม่ตรงกันล่ะ"

หากปล่อยไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดผลกระทบต่อองค์กรหลายด้าน
และหนีไม่พ้นผลประกอบการขององค์กรในท้ายที่สุด
ซึ่ง #ทุกคนจะโดนถ้วนหน้าไม่ว่าแผนกไหน

แม้เราจะรู้ว่าการแก้ไข ว่าต้องเริ่มที่ความคิด หรือ Mindset ที่เหมาะสม
แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ใช่เรื่องของใครคนหนึ่ง แม้แต่ HR

แต่วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด ต้องเริ่มที่ทีมผู้บริหารระดับสูง (Executive team)
ตระหนักถึงผลกระทบนี้ และผู้บริหารทุกแผนก ต้องเป็นผู้เริ่มต้นแก้ไขร่วมกัน

เพราะองค์กรแบบไซโลยิ่งไม่เอื้อต่อการอยู่รอดและเติบโตทางธุรกิจยิ่งกว่ายุคก่อนมาก
เนื่องจากยุคนี้ การเรียนรู้ให้เร็วเป็นปัจจัยสำคัญ ทุกฝ่ายต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน
เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพงานให้เร็ว

รวมทั้งต้องประสานงาน ทำงานเป็นทีมให้มาก (cross-function)
เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีต่อบริการและผลิตภัณฑ์มากที่สุด (customer exprerience)

ตรงข้าม ต้องลดโครงสร้าง กฎระเบียบ และขั้นตอนต่าง ๆ ให้น้อยลง
เพื่อเอื้อการตัดสินใจของพนักงานเป็นไปอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์หน้างานให้มากที่สุดด้วย

ดังนั้น ถ้าอยากให้องค์กรเติบโต "ผู้นำ" ต้องเริ่มทำลายกำแพงไซโลที่ขวางกั้นก่อน
และเมื่อทำให้ผู้ตามร่วมแรงร่วมใจกันได้ "องค์กรของเรา" ก็จะเติบโตและอยู่รอดในยุคสมัยนี้ได้ครับ

----------------------------------
Content & PhotoKnowledge: อนิรุทธิ์ ตุลสุข

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง

  • องค์กรไซโล (Silo Organization) ไม่ใช่สถานที่ แต่เกิดจากผู้คน  อ่านที่นี่
หากท่านใดสนใจรายละเอียดของการพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำอย่างแท้จริง สามารถขอคำปรึกษาเบื้องต้นได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่นี่
  
    เพิ่มเพื่อน    

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

4 วิธีสร้าง Work-Life Balance  แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
4 วิธีสร้าง Work-Life Balance แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต

สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน

7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง  เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง

เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ