15 อันดับ งานที่น่าสนใจ ปี 2020

วันที่: 05 ก.พ. 2563 14:29:05     แก้ไข: 16 ก.ค. 2563 11:06:19     เปิดอ่าน: 2,301     Blogs
Linkedin หรือ โซเชียลเน็ตเวิร์คของคนทำงาน
คาดการณ์ว่า 15 อันดับงานที่น่าสนใจ ในปี 2020 กว่าครึ่ง
เป็นอาชีพทางข้อมูล ซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีโลกสมัยใหม่ทั้งนั้น


นี่คือ การตอกย้ำชัดเจนว่า ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกใบใหม่
เป็นยุคของ Raise of the Machines แล้ว


ยิ่งเทคโนโลยีเหล่านั้นสามารถ ทำสิ่งต่างๆ ได้ทัดเทียม (หรือมากกว่า) มนุษย์เท่าไร
ยิ่งถูกคนทำงานมองว่า เป็นศัตรูตัวร้าย หรือ คู่แข่งขันที่จะมาทดแทนแรงงานคน
ไม่แปลกที่หลายคนเริ่มกังวลและกลัวว่า..

นี่คือ จุดเริ่มสงครามการแย่งอาชีพ ระหว่าง"หุ่นยนต์" และ "คน"

แล้วคนทำงานต้องทำอย่างไร เพื่อไม่ให้พ่ายแพ้ในสงครามครั้งนี้?
ผมมีข้อแนะนำเล็กๆ น้อยๆ อย่างนี้ครับ

1. "อย่าวิ่งแข่งกับม้า"
ไม่ใช่แค่หุ่นยนต์ นับตั้งแต่อดีต แม้แต่สัตว์อื่นๆ คนก็ไม่เคยเอาชนะได้

คนไม่มีพลังและคมเขี้ยวแบบเสือเพื่อล่าสัตว์อื่น ไม่มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงวิ่งได้รวดเร็วเท่าม้า
แต่คนก็ยังรอดและวิวัฒนาการมาได้จนถึงปัจจุบัน และอยู่บนยอดพิระมิดของห่วงโซ่อาหารได้


งานบางอย่างหุ่นยนต์ทำได้ดีกว่าคนแน่ๆ เช่น การคำนวณเชิงตัวเลข
ความรวดเร็วและแม่นยำในกระบวนการ ฯลฯ ขนาดอดีตแชมป์โกะ มือ 1
อย่าง อี เซ-ดล ที่ว่าแน่ๆ ยังแพ้ AI อย่าง AlphaGo อย่างหมดรูปเลยครับ และตอนรีไทร์ เขาได้กล่าวว่า


“แม้ว่าผมจะได้เป็นอันดับหนึ่ง แต่มันยังมีสิ่งที่ไม่สามารถเอาชนะได้อยู่”

ดังนั้น อย่าไปวิ่งแข่งกับม้า เพราะวิ่งยังไงไม่ชนะ แต่ต้องหรือรู้จักวิธีควบคุม
และใช้งานม้าให้เป็น หรือดูว่าเราจะอยู่ร่วมกับหุ่นยนต์ได้อย่างไร
เพื่อให้เกิดการทำงานที่ลงตัวและได้ผลลัพธ์ขององค์กร


2. "มองหาคุณค่าที่แตกต่าง"
ใช้กลยุทธ์แบบน่านน้ำสีคราม (blue ocean) ลองมองหาคุณค่าอื่นๆ
ที่แตกต่างที่เรามอบให้องค์กรได้ ถ้าจุดแข็งของ "หุ่นยนต์" มีมากมาย
แต่จุดไหนล่ะที่ แมชชีนเหล่านี้ ยังไม่ตอบโจทย์ขององค์กร?


เช่น งานที่ต้องใช้ความรู้สึกระหว่างมนุษย์ด้วยกัน งานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์
ออกนอกกรอบ หรือ การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ฯลฯ
และพยายามเพิ่มศักยภาพของตัวเราในจุดนั้น


3. "พัฒนาทักษะความเป็นคน"

หนทางที่จะชนะได้เด็ดขาด คือ คงความเป็นมนุษย์ไว้ ซึ่งมันก็คือความสามารถทั่วๆไป
ที่ติดตัว และเป็นเอกลักษณ์ของคนที่แตกต่างจากสัตว์อื่นๆ และทำให้เรามีวิวัฒนาการมาจนวันนี้ได้


เช่น ความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) อารมณ์ (Emotion) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
ความเข้าใจในนามธรรม (Abstract) ความลึกซึ้งในเรื่องคน (Human Insight)
ประสบการณ์ส่วนบุคคลที่แตกต่างกันไป (Exprerience) ฯลฯ


ฟังดูเหมือนเรื่องเดิมๆ แต่ล้วนเป็นคุณค่าที่คนได้เปรียบหุ่นยนต์ชัดเจน อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาอันใกล้นี้


สิ่งเดียวที่น่าเป็นห่วง คือ ปัจจุบันคนเรายังมีจุดแข็งนี้ไหม?

เราสามารถการทำงานเป็นทีม ร่วมมือร่วมใจแบบสัตว์สังคมอยู่หรือเปล่า?

เราพยายามทำความเข้าใจ ลูกค้า ลูกน้อง หรือ คนรอบข้างอย่างแท้จริงไหม?
หรือมองแต่ ตรรกะ เหตุผล ว่าจำเป็นมากกว่า จนละทิ้ง จนเพิกเฉยปัจจัยด้านอารมณ์


เราใช้จินตนาการและประสบการณ์ เพื่อพัฒนางานได้ไหม? หรือยังคงทำเหมือนเดิม
โดย copy & paste ในทุกๆ ปี แล้วคาดหวัง ความมั่นคง หรือเงินเดือนและโบนัสที่มากกว่าเดิม


เพราะหากปราศจากความได้เปรียบเหล่านี้ คนก็จะไม่ต่างจากหุ่นยนต์
และคงไม่ต้องเดาว่าฝ่ายไหนจะเสียท่า

หากคนจะเป็นฝ่ายแพ้ในสงครามอาชีพนี้ ไม่ใช่เพราะหุ่นยนต์
แต่อาจเป็นตัวเราที่ตัดหนทางชนะด้วยตัวเอง


ดังนั้น เตรียมตัว Upskill / Reskill หรือ แม้แต่ Reinvent ทักษะความเป็นคนให้มากขึ้น
จะเป็นหนทาง ที่จะเติมเต็มความสำเร็จให้กับองค์กรในสิ่งที่ขาด และหากผสานและผนึกกำลังกับเทคโนโลยีได้
ทุกคนจะก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงนี้ไปด้วยกัน และนี่คงเป็นทางออกที่เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์แบบนี้ครับ

----------------------------------
Content: aniruthT
Photo: Webster2703 จาก Pixabay

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

4 วิธีสร้าง Work-Life Balance  แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
4 วิธีสร้าง Work-Life Balance แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต

สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน

7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง  เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง

เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ