Disruption หรือการเปลี่ยนแปลง

วันที่: 16 เม.ย. 2563 13:12:16     แก้ไข: 21 ก.ค. 2563 15:51:55     เปิดอ่าน: 2,178     Blogs
ไม่ได้กลัว Disruption หรือการเปลี่ยนแปลง
แต่กลัวอย่างเดียวว่า "ถ้าผู้นำพาไปไซโล พวกเราจะตายกันหมด"
.
ในวีคที่ผ่านมา เรารู้กันแล้วว่า ทำไม องค์กรแบบไซโลนั้นทำให้ประสิทธิภาพองค์กรในการต่อสู้กับความเปลี่ยนแปลงด้อยลง
.
เพราะ จะทำให้ทุกแผนกทุกฝ่าย ขาดการรวมกำลังกัน แบ่งปันข้อมูลกัน เพื่อสร้างการเรียนรู้ ให้เกิดอย่างรวดเร็ว และหาแนวทางตอบโจทย์ลูกค้า จนไม่เกิดผลลัพธ์ทางธุรกิจ
.
ผู้นำ เป็นกลุ่มคนสำคัญมากๆ ที่จะกำหนดทิศทางว่า จะพาองค์กรไปสู่ความเป็นไซโลหรือไม่? หากพวกเขาคำนึงแต่เรื่องของตัวเอง ไม่มองเป้าหมายร่วม องค์กรพร้อมเป็นไซโลแน่นอน และท้ายที่สุด ทุกคนในองค์กรจะได้รับผลกระทบถ้วนหน้า
.
จุดเริ่มของไซโล เกิดจากผู้นำบางคน ปกป้อง Ego ตัวเอง ปิดจุดอ่อนและความไม่รู้ของตน เพราะกลัวเสียหน้า กลัวโดนคนอื่นเล่นงาน ซึ่งอาจผลต่อ ความก้าวหน้าของตัวเอง ทำให้ต้องแอคท่าว่าเก่งในทุกเรื่อง (แม้แต่เรื่องที่ไม่ถนัด) ผลที่ตามมา คือ บรรยากาศของความไม่เชื่อใจกัน (Absent of Trust) และ "การเมืองในองค์กร"
.
เมื่อเกิดความไม่ไว้วางใจกัน ก็ต้องระวังไม่ล้ำเส้นคนอื่น จนเกิดบรรยากาศหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง (Fear of conflict หรือ อาจจะเคยเกิดขัดแย้งรุนแรงไปแล้วจนต้องระวังตัว)
.
ดังนั้นเวลาประชุม หรือ ร่วมงานกัน จึงทำแบบแกนๆ อาจถึงขั้นตกลงเมื่ออยู่ต่อหน้า แต่ไม่ให้ความร่วมมือยามลับหลังก็มี (Lack of commitment)
.
เมื่อมาถึงขั้นนี้ แม้เห็นว่าผู้บริหารคนอื่น อาจตัดสินใจไม่เหมาะสม ไม่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร ก็ไม่อยากยุ่ง ไม่อยากบอก เพราะเห็นว่าไม่ใช่เรื่องตน สู้เอาเวลามาทำผลงานเฉพาะทีมตัวเอง ประคองตัวให้รอดดีกว่า (Avoidance of accountability & Inattention to result)
.
การทำงานแบบไซโล ก็เกิดขึ้น
และองค์กรไซโล ก็ถือกำเนิดมาตรงนี้เอง
.
เมื่อเรื่องเริ่มที่คน ก็ต้องแก้ที่คน
การพัฒนาความคิดและทัศนะของผู้นำ จึงเป็นจุดเริ่มต้น และสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่เราต้องย้อนกลับไปแก้ไข
.
และทำให้พวกเขาเข้าใจตรงกันว่า คนทุกคนไม่ได้สมบูรณ์แบบ เรามีข้อบกพร่องได้เป็นเรื่องธรรมดาสามัญ และมันสามารถเติมเต็มได้จากคนอื่นๆ ที่แตกต่างจากเรา หากผสานกันได้ จะเกิดเป็นพลัง ทำให้ทุกคนในองค์กรฝ่าฟันช่วงเวลาที่ยากลำบาก และไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน
.
แน่นอนว่ามันไม่ใช่เรื่องง่าย แถมเป็นเรื่องที่ยากที่สุดด้วย แต่มันเป็นสิ่งที่ต้องเริ่มทำทันที ถ้าหวังให้องค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงครับ
.
หากแก้ส่วนนี้ได้ การพัฒนาทักษะอื่นๆ อย่างการเพิ่มทักษะการสื่อสาร การบริหารทีมงาน ฯลฯ ไม่เป็นปัญหาใหญ่เท่าที่คิด
.
แต่ถ้ายังต่างคนต่างเอาเป้าของตัวเอง ระยะยาวจะไม่มีใครได้อะไรเลยครับ แม้แต่องค์กร
----------------------------------
Content & PhotoKnowledge: อนิรุทธิ์ ตุลสุข (Add เป็นเพื่อนกันได้ที่ https://www.linkedin.com/in/aniruth-tulsuk-832120118/ นะครับ)
เรียบเรียงจาก The Five Dysfunctions of a Team: Patrick Lencioni
---------------------------------
ย้อนอ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อ
- องค์กรไซโลเป็นยังไง https://bit.ly/32hiku8
- ตรวจ 5 สัญญาน ที่บอกความเป็นไซโลขององค์กร https://bit.ly/37V00bn
----------------------------------
#CoachForGoalArticle #CFG #cfginfographic #Fotoknowledge
สร้างทัศนคติการทำงานให้ดีขึ้นในทุกวันแบบง่ายๆ
---------------------------------
รายละเอียดโปรแแกรมพัฒนาบุคลากรองค์กรที่
www.coachforgoal.com
.
ด่วน ! เราเพิ่มช่องทางอ่านบทความใหม่แล้ว ที่ Linkedin มาเป็นเพื่อนกันได้ที่
https://www.linkedin.com/company/coach-for-goal/
---------------------------------
Sources:
https://peopleleaders.com.au/how-to-interpret-lencionis-5-dysfunctions-of-a-team/
http://beyondthecodon.com/avoiding-the-5-dysfunctions-of-a-team-in-a-biomedical-research-lab/
Photo: People vector created by pikisuperstar/ Business vector created by freepik
 

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

4 วิธีสร้าง Work-Life Balance  แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
4 วิธีสร้าง Work-Life Balance แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต

สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน

7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง  เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง

เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ