McKinsey เผยลักษณะคนทำงานที่โลกยุคใหม่ต้องการ (ตอนที่ 2 Cognitive Skills)

วันที่: 17 ก.พ. 2565 14:04:34     แก้ไข: 27 ม.ค. 2567 09:16:52     เปิดอ่าน: 4,004     Blogs
"วิธีคิด" หรือ Cognitive Skills คือ ทักษะหมวดที่สอง เพื่อขอพาสปอร์ต สำหรับไปโลกใบใหม่ จากงานวิจัยของ McKinsey ครับ
โลกยุคใหม่ เป็นโลกที่มีลักษณะเปราะบาง ไม่แน่นอน ซับซ้อน คลุมเครือ ทำให้เรามีแนวโน้มที่ต้องใช้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น
ซึ่งจริงๆ แล้ว ทุกวันนี้ คนทุกคนก็สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายกว่าเดิมเยอะมาก แต่....
คนที่จะมีระบบการคิด เพื่อประมวลผลข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในรูปแบบที่ใช้งานได้ มีกี่คน?

วิธีคิด จึงเป็นทักษะที่แยก "คนที่ใช้งานข้อมูลเป็น" กับ คนที่ "แค่ค้นข้อมูลได้" ได้ออกจากกัน

คนที่ใช้งานข้อมูลเป็น จะมีทักษะใน 4 ด้าน คือ


1. Critical Thinking สรุปง่ายๆ คือ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ได้ ซึ่งแบ่งเป็น 4 ด้านย่อย คือ
  • การแก้ปัญหาอย่างมีโครงสร้าง
  • การให้เหตุผลเชิงตรรกะ
  • เข้าใจเรื่อง bias ด้านต่างๆ
  • ค้นหา ข้อมูลที่สัมพันธ์กัน

2. Mental Flexibility คือ รู้ว่าจะใช้ข้อมูลที่มีในสถานการณ์ที่ต่างกันอย่างไร ไม่ใช่ ใช้มันแบบเดิมในทุกๆ บริบทครับสาระสำคัญของข้อนี้ คือ เพื่อให้ปรับตัวได้ดี มองในมุมต่างๆ ที่หลากหลายกว่าความเชื่อเดิมของเรา (เสมือนต้องมีแว่นตาหลายแบบ เพื่อมองในมุมต่างๆ) แบ่งเป็น 4 ด้านย่อย คือ 
  • ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
  • การประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์ที่ต่างจากเดิม
  • การฝึกให้มีมุมมองที่หลากหลาย
  • การปรับตัว

3. Planning & Way of Working ต้องพัฒนางานที่ทำได้ และรู้ว่าต้องทำอะไรก่อนหลัง ซึ่งแง่มุมนี้ ก็คือ "รู้จักคิดเพื่อทำงานให้เป็น" ครับ ไม่ใช่ทำแบบเดิม ด้วยการใช้ระบบ auto pilot จนเป็นงานรูทีน หรือ ทำงานมั่วไปหมด จนไม่รู้ว่าควรทำอะไรก่อน-หลัง และหัวใจสำคัญข้อนี้คือ ทำงานแล้วต้องพัฒนางานนั้นๆ ให้มีคุณค่า (Value) มากกว่าเดิมอยู่เสมอ แบ่งเป็น 4 ด้านย่อย คือ 
  • การพัฒนาแผนงาน
  • การบริหารเวลาและลำดับความสำคัญ
  • การคิดแบบ Agile
  • ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
     
4. Communication หรือ การสื่อสารครับ ถ้ามองแบบ การประมวลผล ข้อนี้อยู่ในหมวดนี้ถูกแล้วครับ เพราะ การรับ-ส่ง ข้อมูล ถือเป็นสาระสำคัญของระบบการคิดเลย ด้านนี้ก็แบ่งเป็น 4 ด้านย่อย คือ 
  • การเล่าเรื่อง (Storytelling) และการพูดในที่ชุมชน
  • การตั้งคำถามให้เป็น
  • การสังเคราะห์ข้อความ
  • การฟังอย่างตั้งใจ (active listening)

ข้อสุดท้ายนี้ หลายคนอาจงง ว่ามันมาอยู่ในการคิดได้อย่างไร นั่นคือถ้าเรารู้จักถามให้เป็น ทำใจให้เย็น เพื่อฟังคนอื่น เราจะได้ข้อมูลที่เป็น input ที่ดีเลยครับ ที่จะให้เราวิเคราะห์ปัญหา หรือ สถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างแม่นยำกว่าเดิม

ในทางตรงข้ามสิ่งที่เป็น output อย่างการสื่อสารในที่ชุมชน ก็ช่วยให้เราส่งข้อมูลที่มีไปยังคนที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ข้อมูลครบถ้วน และยังสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ ได้ด้วย และ output ของเรา ก็จะเป็น input ที่ดีให้กับคนที่ทำงานด้วยกันอีกต่างหาก
ซึ่งทั้งหมดนี้ หากทำได้ เราก็จะคิดไว ทำไวมากกว่าเดิมเยอะ รวมทั้ง จะใช้ข้อมูลที่มีได้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 
อ้างอิง : https://mck.co/3dumINm

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

4 วิธีสร้าง Work-Life Balance  แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
4 วิธีสร้าง Work-Life Balance แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต

สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน

7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง  เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง

เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ