"งานนี้ฉันพลาดละ มันเป็นความล้มเหลวครั้งใหญ่มากๆ"
ความรู้สึกนี้ เกิดขึ้นได้กับทุกคน แม้ว่าจะรู้ว่าความผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมชาติมากๆ ที่เกิดขึ้นกับคนเรา
นั่นเป็นเพราะ ทุกความล้มเหลว ย่อมมีผลกระทบ
อาจมี การร้องเรียนจากลูกค้า
ถัดมา อาจได้คำติเตียนจากนาย
ชื่อเสียง ตำแหน่ง เงินทองของเรา อาจจะเสียหาย
แต่เชื่อไหมครับว่า สิ่งที่ทำร้ายจิตใจตัวเรามากที่สุด
เป็นคำต่อว่าของตัวเองที่ก้องกังวานสะท้อนในหัวอยู่ทุกครั้งที่เรานึกถึงมัน
สำหรับหลายๆ คน จำนวนครั้งของคำติเตียนตัวเองนั้น
มันมากยิ่งกว่าจากคนอื่นทั้งหมดรวมกันเสียอีก
.
"ฉันห่วยมากที่ทำงานนี้พลาด"
"ฉันไม่เหลือแรงแก้ไขปัญหานี้แล้ว"
"โลกของฉันคงต้องพังลงในไม่ช้า" ฯลฯ
เมื่อความคิดบอบช้ำ
จิตใจก็เกิดบาดแผลและเป็นรอยร้าว
ร่างกายจึงไม่เหลือเรี่ยวแรงที่จะยืนหยัด
และพาตัวเองไปสู่เป้าหมายที่ตั้งใจ
ท้ายที่สุด ความรู่สึกถึงคุณค่าในตัวเองก็จะลดลง คงไว้ให้เห็นแต่ความซึมเศร้าและหมดไฟในการทำงาน
"When solving problems, dig at the roots instead of just hacking at the leaves." -Anthony J. D'Angelo-
"เมื่อจะแก้ปัญหาให้ขุดไปถึงราก ไม่ใช่แค่ตัดใบ"
รากของความรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนล้มเหลว จึงอยู่ที่ "ความคิด"
"คินสึงิ (Kintsugi)" คือ แนวคิดหนึ่งที่ช่วยเยียวยา จิตใจบอบช้ำที่เกิดจากความล้มเหลว ให้กลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง
เดิมที คินสึงิ คือชื่อของวิธีการซ่อมแซมรอยร้าวเครื่องปั้นดินเผาของญี่ปุ่น ด้วยการใช้สิ่งคล้ายกาวที่เกิดจากการผสมครั่ง เรซิ่น เข้ากับผงโลหะต่างๆ เช่น ทอง เงิน หรือ ทองคำขาว
เมื่อชิ้นส่วนที่แตกร้าวของภาชนะนั้น ถูกประสานเข้ากัน ตำหนิที่เคยน่าเกลียด จะกลับกลายเป็นลวดลายศิลปะที่งดงามอย่างคาดไม่ถึง
เช่นเดียวกัน ความผิดพลาดในอดีตของคน หากรู้จักวิธีประสานรอยร้าวของจิตใจ ช่วงเวลาอันเจ็บปวดของชีวิตนั้น ก็ผันเป็นหนทางพัฒนาศักยภาพที่ตัวเองมีได้ เพียงกาวที่ใช้นั้น ไม่ใช่สสารทางกายภาพแต่เป็นชุดความคิด ที่มีส่วนผสมจาก
แม้ร่องรอยความผิดพลาดล้มเหลวไม่จางหาย
แต่รอยร้าวนั้นจะไม่ใช่ความอับอายอีกต่อไป
และมันกลายเป็นประสบการณ์ที่เราภาคภูมิใจ
เหมือนที่ Sundar Pichai (CEO ของ Google) บอกไว้ว่า “Wear your failure as a badge of honor.”
"จงยืดอกและภาคภูมิใจในความล้มเหลวซะ เพราะมันคือ เหรียญตราแห่งความเกียรติยศของคุณ"
ยังไงก็ตาม จิตใจที่ฟื้นฟู เป็นแค่การกลับมาเริ่มต้นใหม่บนเส้นทางสู่ความสำเร็จเท่านั้น
สิ่งที่ต้องทำถัดไป คือต้องสังเกตว่า สาเหตุที่แท้จริงของความผิดพลาดคืออะไร และมีความสามารถใดที่คุณต้องพัฒนาปรับปรุงเพิ่มเติมบ้าง เพราะนั่นต่างหากที่จะทำให้ไปถึงเป้าหมายได้ โดยไม่พลาดเรื่องเดิมๆ ซ้ำๆ อีกต่อไป
จิตใจแตกร้าวแก้ได้ แต่ถ้าแหลกสลายกลายเป็นฝุ่น pm 2.5 อาจแก้ไม่ไหว
Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking |
สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ