เข้าใจว่า ตอนเด็กๆ หลายท่านคงเคยฟังเพลง "กบร้องเพราะท้องปวด" นี้
ซึ่งเนื้อเพลง ก็จะประมาณว่า
"กบเอยทำไมจึงร้อง กบเอยทำไมจึงร้อง
ที่กบมันร้อง เพราะว่าท้องมันปวด
ท้องเอยทำไมจึงปวด ท้องเอยทำไมจึงปวด
ที่ท้องมันปวด เพราะว่าข้าวมันดิบ
ข้าวเอยทำไมจึงดิบ ข้าวเอยทำไมจึงดิบ
ที่ข้าวมันดิบ เพราะว่าไฟมันดับ
ไฟเอยทำไมจึงดับ ไฟเอยทำไมจึงดับ
ที่ไฟมันดับ เพราะว่าฟืนมันเปียก
ฟืนเอยทำไมจึงเปียกฟืนเอยทำไมจึงเปียก
ที่ฟืนมันเปียก เพราะว่าฝนมันตก
ฝนเอยทำไมจึงตก ฝนเอยทำไมจึงตก
ที่ฝนมันตก เพราะว่ากบมันร้อง"
ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า ชื่อเพลงอะไร
รู้แค่มันเป็นเพลงในตำนาน ที่เด็กๆ ยุคหนึ่งต้องเคยได้ยินได้ฟัง
ลองพยายามค้นแล้ว ก็มีทั้งบอกว่า ชื่อเพลง "กบเอยทำไมจึงร้อง" "กบปวดท้อง" หรือ "แม้แต่ฝนเอยทำไมจึงตก" ก็ยังมี จึงขอเรียกว่า "เพลงกบร้องเพราะท้องปวด" ละกัน
เนื้อเพลงก็เล่าถึงเหตุผลว่าที่กบร้อง มันมีที่มาที่ไปของมัน เพราะมีเหตุจึงเกิดผล และผลก็เป็นเหตุของปัญหาอีกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกันเหมือนปฏิกริยาลูกโซ่
กบร้องเพราะปวดท้อง
ท้องปวดเพราะข้าวดิบ
ข้าวดิบเพราะไฟที่หุงข้าวดับ
ไฟดับ เพราะ ฟืนเปียกชื้น
ฟืนเปียก เพราะ ฝนตก
แต่ที่ฝนตกก็เพราะ กบมันร้องนี่แหละ!!
ฟังเผินๆ ก็เป็นเพลงเด็กธรรมดาๆ ฟังวนไปได้เพลินๆ
แต่พอหลายรอบเข้า
อ้าว ! นี่มันบรรยายภาพการทำงานองค์กรชัดเจนเลยนี่
เพราะมันคือรูปแบบเดียวกับ การสรรหาคำอธิบายสาเหตุของปัญหาในการทำงานของคน ตอนที่ผลการทำงานไม่เข้าเป้าเลย
ทำไมงานไม่เข้าเป้า
เพราะนายไม่ช่วยสนับสนุนอุปกรณ์ที่จำเป็น
ทำไมนายไม่สนับสนุนล่ะ
เพราะว่า งบมันจำกัดไง เบื้องบนให้มาเท่านี้
ทำไมเบื้องบนจำกัดงบ
เพราะว่า รายได้ ผลประกอบการไม่ดีไง
แล้วทำไมรายได้ไม่ดี ก็เพราะ...
......
......
หน่วยงานเอ็งทำงานไม่เข้าเป้าไงเล่า!!
วงจรการโทษกันจึงเกิดขึ้น เพื่ออธิบายเหตุผล ที่มาที่ไปของความผิดพลาดที่ "ดูเหมือนสมเหตุสมผล" แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ไม่ต่างกับเพลงกบปวดท้อง ที่เริ่มอธิบายปัญหา และวนหาสาเหตุที่เกิดจากปัจจัยภายนอก ท้ายสุดมันก็วนมาที่จุดเริ่มต้น แล้ววนเป็นลูปใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
จนกว่าจะมีใครสักคนได้สติ #เริ่มต้นเปลี่ยนมุมมอง เลิกหาเหตุผลให้ตนพ้นผิดด้วยการโทษปัจจัยภายนอก และ #คิดว่าตัวเราเองทำอะไรได้บ้าง เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
ปัญหาจะได้ไม่ต้องวนซ้ำไปซ้ำมาแบบเพลงกบในตำนานนี้อีกต่อไป
-------------------------
Original Content & Illustrate by aniruthT
เนื้อเพลง: Internet
อ่านบทความน่าสนใจอื่นๆ ที่ www.coachforgoal.com/blogs
----------------------------
#CFG สร้างทัศนคติการทำงาน
ให้ดีขึ้นในทุกวันแบบง่ายๆ
www.coachforgoal.com
Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking |
สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ