รู้จักการส่องกระจก 6 ด้าน เพื่อสร้างความสำเร็จในงานอย่างยั่งยืน

วันที่: 05 เม.ย. 2565 13:53:50     แก้ไข: 27 เม.ย. 2565 09:45:43     เปิดอ่าน: 5,326     Blogs
"คนเราทุกวันนี้ ดีแต่ส่องกระจกด้านหน้า แต่เพียงด้านเดียว ให้เอากระจกหกด้าน มาส่องเสียบ้าง แล้วจะเห็นเอง" สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แล้วเกี่ยวยังไงกับการทำงาน??

เพราะ ชีวิตการทำงานของเรา ก็จำเป็นต้องส่อง กระจก 6 ด้านเหมือนกันครับ เพื่อให้มุมมองที่รอบด้านและทำให้ชีวิตเราดีขึ้น

บานที่ 1 คือ กระจกที่สะท้อนจาก "มุมมองของเรา" เอง บานนี้เป็นกระจกที่อยู่ตรงหน้า และหลายคนมองอยู่เป็นปกติครับ

แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า มุมที่มองมันอาจไม่ค่อยตรง และมักเห็นภาพสะท้อนที่บิดเบือนอยู่เสมอ

หากส่องเป็น คือทบทวนตัวเองเสมอ (Self-Review) และตรงตามความจริง จะมองเห็นคุณภาพงานของตัวเอง (Quality of work) ว่าตัวคุณมีความสามารถแค่ไหน และเห็นคุณภาพชีวิต (Quality of life) ของเราว่างานที่ทำอยู่นั้นตอบโจทย์จุดมุ่งหมาย (purpose) ในชีวิตมากเพียงใด

บานที่ 2 คือ ภาพสะท้อนจาก "หัวหน้างาน" ทำให้เราเห็นว่า งานที่ทำนั้นส่งผลต่อเป้าหมายทีมแค่ไหน และมีจุดใดที่เราต้องพัฒนาปรับปรุงเพิ่ม (เพื่อเป็น Career Development) นอกจากนี้ยัง มองเห็นอนาคตของคุณ ว่าจะอยู่รอดในองค์กรได้หรือไม่ด้วยครับ

บานที่3 สะท้อนมุมมองจาก "เพื่อนร่วมงาน" จะส่องให้เห็นถึงความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของคุณ (Relationship) ว่าเมื่อต้องทำงานที่กดดันแล้ว คุณยังรักษามันได้หรือไม่ หรือ ทำลายมันไปหมดแล้ว จากความประมาทเลินเล่อในการทำงาน

บานที่ 4 คือ มุมมองจาก "ลูกน้อง" ภาพที่ออกมา คือ ภาวะผู้นำของคุณ (Leadership) ว่าคุณเป็นเพียง ผู้จัดการที่คนเดินตาม เพราะ กลัวซวย หรือ คุณเป็นผู้นำที่แท้จริง ที่คนยอมเดินตามคุณด้วยความเต็มใจ

บานที่ 5 คือ มุมมองจาก "เพื่อนต่างแผนก" ของคุณ โดยภาพที่เห็นนั้น จะเป็นภาพของความมีวุฒิภาวะ (Maturity) และ วิสัยทัศน์ของคุณ (Vision)

เพราะในการประสานงานแบบ cross-function นั้น คนที่ทำได้ดี จะต้องมีการมองการณ์ไกล จนเห็นว่าเป้าหมายร่วมของทุกหน่วยงานคือ อะไร และต้องร่วมมือกันอย่างไร จึงจะประสานการทำงาทุกฝ่ายได้ และนอกจากนี้ การยอมลดอีโก้ (Ego) เพื่อส่วนรวม จึงเป็นการแสดงออกของการมีวุฒิภาวะด้วยครับ

บานที่ 6 คือ ภาพที่มาจาก "ลูกค้าของคุณ" ซึ่งก็คือ ภาพของคุณค่า (Values) ที่ตัวคุณได้ส่งมอบ และความพึงพอใจที่พวกเขามีต่อคุณ (Customer Satisfaction) หรือ องค์กรของคุณครับ

และกระจกบานนี้ เป็นบานสำคัญมากๆ สำหรับโลกในยุคดิจิทัลนี้ เพราะในยุคนี้ แพ้-ชนะในการแข่งขันทางธุรกิจ อยู่ที่ว่า องค์กรตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีเพียงได้

ถ้าทำได้ เมื่อนั้น คู่แข่งก็ไม่มีความหมาย เพราะ บริษัท จะมีความได้เปรียบในการความเติบโตอย่างยั่งยืนได้มากกว่าครับ ข้อนี้ บริษัทอย่าง Amazon หรือ Netflix รู้ดี จนถึงกับต้องมีวัฒนธรรมองค์กรที่ต้องใส่ใจกับ feedback ของลูกค้ามากๆ เป็นลำดับแรกๆ

กระจกทั้ง 6 บานนี้ เรียกแบบทางการ ก็ คือ feedback นั่นเองครับ และที่ต้องส่องหลายๆ ด้าน ก็เพื่อให้เราได้เเห็นครบทุกมุม และได้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการพัฒนาที่สุดครับ

แต่หลายๆ คนมักอยากมองแค่มุมเดียว คือ จากกระจกบานแรก แถมยังเป็นกระจกแบบเพิ่มฟิลเตอร์ ในหน้าตา ภาพผลงาน ฟรุ้งฟริ้ง จนบิดเบี้ยวจากความจริงอีกต่างหาก
เมื่อภาพที่สะท้อนไม่ตรง ก็คงทำให้ไม่มีอะไรดีขึ้น เพราะคิดว่าตัวเองดีเสียจนไม่รู้จะไปพัฒนาตรงไหนอีก

ดังนั้น ถ้าอยากพัฒนาตัวเอง ต้องวิ่งหากระจกหกด้านมาส่องเถอะครับ
ยุคนี้ไม่ใช่ยุคที่ จะรอให้กระจกวิ่งมาหาแล้ว เพราะมันจะช้า และปรับตัวได้ไม่ทันการณ์ครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 
อ้างอิง : Photo: freepix.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

4 วิธีสร้าง Work-Life Balance  แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
4 วิธีสร้าง Work-Life Balance แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต

สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน

7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง  เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง

เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ