อยากให้ feedback แล้ว ลูกน้องเปลี่ยน จะต้องทำอย่างไร?

วันที่: 05 เม.ย. 2565 12:00:32     แก้ไข: 27 เม.ย. 2565 10:30:07     เปิดอ่าน: 2,104     Blogs
จริงๆ แล้ว คำวิจารณ์ต่างๆ ถือว่าเป็น feedback อย่างหนึ่งเหมือนกัน เพราะ feedback ก็คือ ข้อมูลย้อนกลับทุกๆ อย่างที่เกิดขึ้นหลังการกระทำเสมอ เพียงแต่ว่าถ้าเราอยากให้ feedback นั้น มีพลัง และนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้นั้น feedback ดังกล่าวจะต้องประกอบไปด้วย "เจตนาที่ดี" เป็นสารตั้งต้นครับ

เมื่อมีเจตนาที่ดี อยากช่วยให้ผู้รับ feedback เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ชีวิต หรือ การทำงานของเขาดีขึ้นแล้ว นี่คือครึ่งทางของการให้ feedback ที่มีประสิทธิภาพแล้ว

เพราะความคิดที่เหมาะสม อยากช่วยเหลือนั้นจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการให้ feedback ซึ่งจะออกมาในโทนของน้ำเสียง ภาษากาย และวิธีพูดครับ แม้ว่าผู้พูดอาจขาดทักษะ หรือ ไม่รู้หลักการ แต่ก็ช่วยให้ผู้ฟังรับรู้ถึงความจริงใจ ที่อยากช่วยให้เขาพัฒนาได้
.
และหากผู้ให้ feedback มีทักษะที่ดี หรือ feedback เป็นด้วยแล้ว พลังและประสิทธิภาพก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น เพราะจะรู้ว่าจะต้องให้ feedback อย่างไร เพื่อให้ลดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ หรือ ต้องพูดแบบไหน จึงจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีอยู่แล้ว ให้ดียิ่งขึ้นได้ และทำให้ผู้ฟัง "เห็นประโยชน์ที่ตัวเขาจะได้"

สรุปคือ ถ้า "เจตนาดี" + "ทักษะการให้ feedback ดี" = โอกาสของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับ feedback ก็จะดีตามไปด้วย

แต่กลับกัน ถ้า "เจตนา" ตั้งต้นของผู้พูดนั้น ไม่ได้คาดหวังให้ผู้รับเปลี่ยนแปลงมากนัก แค่อยากบอกอยากพูด

ดีหน่อยก็เป็นแค่คำวิจารณ์ ความคิดเห็น ที่บอกเล่าความรู้สึก จากมุมมองของตัวเอง หรือ แย่กว่านั้น ก็เป็นแค่ "คำด่า" และ "ติเตียน" แทนที่จะกระตุ้นให้เปิดการเปลี่ยนแปลงที่ดี กลับจะยิ่งกระตุ้นให้เกิดแรงต้าน ไม่อยากเปลี่ยนมากกว่า เพราะมันเหมือนมา "ด่า" มากกว่าจะมา "บอกด้วยความหวังดี" น่ะครับ

ในการทำงานถ้าอยาก feedback ใคร เริ่มต้นด้วยเจตนาที่ดีไว้ก่อน แล้ว feedback นั้น จะมีพลังมากขึ้น อย่างที่พี่เหน่ง Y not 7 ว่าไว้ "พูดดีๆ ก็ได้ ถ้าพูดไม่ได้ก็ไม่ต้องพูด" ใครอยากมาฟังคำด่าล่ะครับ มีแต่ออกแนวหูดับ ถึงแม้จะไม่ด่ากลับ ก็ยากที่เขาจะอยากเปลี่ยนแปลงตัวเองครับ จริงไหม?

เมื่อมีเจตนาที่ดีแล้ว จากนั้นสิ่งที่สำคัญ ก็คือ ทักษะการให้ feedback ที่ หัวหน้าจำเป็นต้องรู้หลักๆ ก็คือ

1. ต้องเข้าใจคำว่า "พฤติกรรม" และให้ feedback อ้างอิงจาก action นั้นๆ ไม่ใช่นิสัย
2. ต้องรู้จักให้ feedback ทั้งด้านบวก และ ด้านที่ต้องพัฒนา
3. การให้ feedback ต้องเป็นการพูดคุย คือ แลกเปลี่ยนไอเดียและแนวทางการปรับปรุงด้วย เพื่อให้ได้ทั้งข้อมูลสาเหตุของ action ที่ให้ feedback มากขึ้น แนวทางการแก้ไขที่ยอมรับกันทั้งสองฝ่าย
4. ต้องมีการติดตามผลการเปลี่ยนแปลงด้วย ถ้าทำดีขึ้นให้ feedback ด้านบวก เพื่อเสริมให้ทำมากขึ้น ถ้ายังไม่ดีขึ้นอาจให้คำแนะนำเพิ่มเติม

ทั้งสี่ข้อนี้เป็นหลักง่ายๆ ที่เวลาทำจริงๆ เราอาจหลงลืม จน feedback กลายเป็นแค่ "การบอกเฉยๆ" จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือ ปรับปรุงได้ช้าครับ
ลองเพิ่มและใส่ใจการให้ feedback อีกนิด แล้วประสิทธิภาพจะมีเพิ่มขึ้นเองครับ
 

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

4 วิธีสร้าง Work-Life Balance  แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
4 วิธีสร้าง Work-Life Balance แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต

สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน

7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง  เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง

เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ