แวดวง HR สะเทือนอีกครั้ง เมื่อมีข่าวว่า AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ สามารถทำนายแนวโน้มการลาออกของพนักงานได้ ด้วยความแม่นยำถึง 95% แล้ว
โปรแกรมที่ว่า คือ โครงการ Predictive Attrition Program เพื่อการทำนายการลดจำนวนพนักงาน นั่นเอง
IBM HR ได้จดสิทธิบัตรของโปรแกรมนี้ไว้แล้ว ซึ่งมันทำงานด้วยการใช้ AI ที่พัฒนาต่อยอดจาก IBM Watson ซึ่งเป็น product หนึ่งของบริษัทที่พัฒนาขึ้นตามแนวทางการเรียนรู้ของมนุษย์ นั่นคือ ไม่ใช่แค่ ระบบ ถาม-ตอบคำถาม ตามฐานข้อมูลเท่านั้น แต่ระบบสามารถ ทำความเข้าใจ (understand) ให้เหตุผล (reason) และสามารถเรียนรู้ (learn) จากข้อมูลรวมถึงปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้ได้
AI ตัวนี้ จะวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆของพนักงาน จากนั้นจะทำนายผลว่าพนักงานมีแนวโน้มจะลาออกจากบริษัทมากน้อยแค่ไหน แล้วจึงแนะนำสิ่งที่ผู้จัดการ หรือ หัวหน้าทีมควรทำในการเข้าหาพูดคุยกับพนักงานรายนั้น
Ginni Rometty ซีอีโอของ IBM บอกว่า บริษัทของเธอได้ใช้ AI นี้ช่วยคาดการณ์การลาออกของพนักงานได้แม่นยำถึง 95 เปอร์เซ็นต์ !
พูดถึงแค่ความแม่นยำ ยังอาจน่าตกใจไม่พอ แต่ถ้าบอกว่าเม็ดเงินที่ AI สามารถลดค่าใช้จ่าย ในการรักษาพนักงาน (Retention) ได้ถึง ราวๆ 300 ล้านเหรียญ หรือ ประมาณ 9 พันล้านบาท !!
คงไม่ใช่แค่ผู้บริหารองค์กรที่หูผึ่งกับสิ่งนี้แล้วล่ะ เพราะทาง HR เองก็คงเสียวแว๊บเช่นกัน เพราะ ทาง IBM เผยว่า เมื่อใช้งาน AI ตัวนี้ แล้ว ขนาดฝ่ายทรัพยากรบุคคลลดลงไปถึง 30 เปอร์เซ็นต์ เรียกได้ว่า ถ้ามีบริษัทเรามี HR สัก 10 คน เพื่อนเราก็จะหายไป 3 คน นั่นแหละ
แต่ ซีอีโอ IBM ยังมองในแง่ดีว่า เพราะ ถึง AI จะเข้ามามีบทบาท ก็ในความเป็นจริง องค์กรก็ยังต้องพึ่ง ทักษะฝ่าย HR ที่เป็นคนจริงๆ อยู่ดี เพื่อพิจารณาในรายละเอียดว่าพนักงานต้องการอะไร หรือ แม้แต่ต้องใช้ทักษะ การพูดคุยประสามนุษย์ที่มีเลือดเนื้อจิตใจเหมือนกัน เพื่อรั้งพวกเขาไว้กับบริษัท
ดังนั้น การลดเวลาที่ไม่จำเป็นด้วยการใช้ AI ทดแทน จึงทำให้ มนุษย์ชาว HR อย่างเราๆ ได้มีเวลาไปพัฒนาทักษะด้านอื่นที่จำเป็นจริงๆ ต่างหาก
ก็ไม่รู้ว่าจะเป็นแค่คำพูดปลอบใจหรือเปล่า แต่สิ่งหนึ่งที่น่าคิด คือ ไม่ว่าจะเป็น HR หรือ พนักงานในบทบาทใดก็แล้วแต่ ต้องได้ระบบผลกระทบจาก AI แน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว
และ ผู้ที่จะอยู่รอดได้ คือ คนที่มุ่งพัฒนาตัวเองในทักษะที่สำคัญต่องานอยู่เสมอ และหนึ่งในนั้น คือ ทักษะด้านคน ที่ AI เหล่านี้ ยังทำไม่ได้ดีนั่นเอง
Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking |
สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ